Page 99 - kpiebook63011
P. 99

99











                  5.1 กำรเคลื่อนไหวของพรรคกำรเมือง กลุ่มกำรเมือง

                  และกำรแข่งขันกำรเลือกตั้งของพรรคกำรเมืองและ


                  ผู้สมัครสมำชิกสภำผู้แทนรำษฎรในจังหวัดเชียงใหม่



                          สนามการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นพื้นที่ของการช่วงชิงฐานที่มั่นทั้งความน่าเชื่อถือ ความสามารถ

                  และฐานอำานาจทางการเมืองของนักการเมืองในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ภายหลังการรัฐประหาร
                  กล่าวได้ว่า การดำาเนินการใด ๆ ของพรรคการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นแทบจะไม่ปรากฏให้เห็น
                  อย่างเปิดเผย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่ถือเป็นผู้ครองอำานาจทางการเมืองสำาคัญของจังหวัดเชียงใหม่

                  จากคะแนนการเลือกตั้งและผลการเลือกตั้งนับตั้งแต่การเลือกตั้งภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  พ.ศ. 2540 ที่นำามาสู่การเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548 และหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ที่เป็น
                  จุดเริ่มต้นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 นำามาสู่การเลือกตั้งในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2550
                  และการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554 พบว่า นับตั้งแต่การเติบโตของพรรคไทยรักไทย มาสู่พรรคพลังประชาชน

                  จนกระทั่งการคงอยู่ของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ฐานอำานาจของพรรคเพื่อไทย

                  ยังคงเข้มแข็งและชนะการเลือกตั้งได้ที่นั่งในเขตเลือกตั้งของจังหวัดเชียงใหม่เกือบทั้งหมดต่อเนื่องเกือบ 20 ปี
                  ยกเว้นบางเขตเลือกตั้งที่มีผู้ชนะการเลือกตั้งที่มาจากพรรคการเมืองอื่น คือ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544
                  เขต 9 นายยงยุทธ สุวภาพ ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 มีนายไกร ดาบธรรม

                  จากพรรครวมชาติพัฒนาได้รับการเลือกตั้งในเขตที่ 3 และนายนรพล ตันติมนตรี จากพรรคเพื่อแผ่นดินได้รับ

                  การเลือกตั้งในพื้นที่เขต 4 และในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ภายหลังการเลือกตั้งใหม่ในพื้นที่เขต 8
                  นางสาวศรีนวล บุญลือ จากพรรคอนาคตใหม่ได้รับการเลือกตั้ง


                          การศึกษาการเมืองไทยในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา มีการศึกษาความสำาเร็จของพรรคไทยรักไทย
                  พรรคพลังประชาชน จนถึงพรรคเพื่อไทยว่าเกิดจากการจัดองค์กรของพรรคการเมืองที่มีโครงสร้างแนวดิ่ง คือ

                  มีการกำาหนดบทบาทของชนชั้นนำาในพรรคในฐานะผู้กำากับและตัดสินใจภายในพรรค และพรรคยังมีความ

                  สามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเจอวิกฤตยุบพรรคหรือสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ส่งผลต่อคะแนน
                  นิยมพรรค การสร้างรูปแบบ วิธีการแข่งขันที่ก้าวหน้าและนโยบายพรรคในการหาเสียงที่ถูกนำามาปฏิบัติเป็น
                  นโยบายรัฐบาลจนสร้างค่านิยมใหม่ในทางการเมืองที่ผู้สนับสนุนพรรคผูกพันในเชิงนโยบายของพรรค (สมชัย

                  แสนภูมี, 2557) การประกาศตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยยังคงให้อดีต ส.ส.เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งใน

                  เขตเลือกตั้งเดิมทั้งหมด แม้จำานวนเขตจะลดลงไป 1 เขตก็ตาม และจะมีเพียงเขต 3 เขตเดียว คือ นายจักรพล
                  ตั้งสุทธิธรรมที่เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรก แต่หากพิจารณาจากประวัติการทำางาน
                  จะพบว่ามีประสบการณ์ในการทำางานกับพรรคเพื่อไทย โดยเป็นประธานสาขาพรรคเพื่อไทยจังหวัดเชียงใหม่

                  นายจักรพลแม้ไม่ได้มาจากตระกูลการเมือง แต่มีฐานการทำาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกิจการตลาดสดเก่าแก่
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104