Page 95 - kpiebook63011
P. 95

95








                           พัฒนาการทางการเมืองไทยในปัจจุบันเอื้อต่อการยอมรับบทบาทของผู้หญิงในทางการเมืองมากขึ้น

                  แม้ผู้สมัครบางคนในจังหวัดเชียงใหม่จะมีฐานอำานาจทางการเมืองของครอบครัวเป็นทุนเดิมที่ทำาให้มีโอกาส
                  ชนะมากกว่า แต่ก็ยังมีสัญญาณสำาคัญคือ การยอมรับผู้หญิงในฐานะตัวแทนทางการเมืองระดับชาติมากขึ้น

                  ที่จะส่งผลต่อเนื่องปูทางให้กับบทบาทผู้หญิงในการเมืองระดับท้องถิ่น นอกจากนี้หากวิเคราะห์จากข้อมูลพื้นที่
                  และการสัมภาษณ์จะเห็นว่า ปัจจัยสำาคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทำางานทางการเมืองของผู้หญิง

                  ในจังหวัดเชียงใหม่คือ กระบวนการของการกลายเป็นเมือง เพราะเชื่อว่าประชาชนในเขตเมืองหรือเขตเลือกตั้ง
                  ที่อยู่ใกล้เมืองสามารถยอมรับความหลากหลายทางเพศในฐานะตัวแทนได้มากกว่า ซึ่งเกิดจากโอกาสในการ

                  เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ผลจากการเก็บข้อมูลยิ่งตอกยำ้าความสำาคัญของ
                  การให้การศึกษาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน


                          เมื่อการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนบทบาทของผู้หญิงในทางการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่

                  โดยผู้วิจัยได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้สมัครผู้หญิงของพรรคการเมืองต่าง ๆ หลายคน พบว่า บทบาทผู้หญิงในการ
                  เลือกตั้งมีเพิ่มสูงมากขึ้น พรรคการเมืองหลายพรรคนำาเสนอบทบาทของผู้หญิงในพรรคการเมืองในฐานะผู้นำา

                  และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น พรรคเพื่อไทยมีการเสนอชื่อคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์เป็นนายกรัฐมนตรี หรือ
                  การที่พรรคอนาคตใหม่ให้บทบาทของผู้หญิงในฐานะแกนนำาขับเคลื่อนนโยบายสำาคัญ ๆ ของพรรค เช่น นโยบาย

                  สังคมและการศึกษา พรรคพลังประชารัฐนำาเสนอผู้หญิงในบทบาทภาคสังคม และพรรคประชาธิปัตย์มีการ
                  ส่งเสริมบทบาทผู้หญิงภายในพรรคจากระบบสัดส่วนของทั้งสาขาพรรคและการตั้งกลุ่มผู้หญิงขับเคลื่อนงาน

                  ด้านคุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมของผู้หญิงในภาคแรงงาน และจากการเก็บข้อมูลสำารวจเกี่ยวกับความคิด
                  ของประชาชนในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่มองเรื่องเพศเป็นตัวแปร

                  ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งกลับพบว่า ผู้สมัครผู้หญิงหรือนักการเมืองหญิง
                  ยังได้รับการโหวตหรือคะแนนในภาพรวมน้อยกว่าผู้ชายถึงเกือบ 4 เท่า และระบบจารีตและความคิดทาง

                  วัฒนธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือชุมชนชาติพันธุ์ ผู้หญิงจะไม่ได้รับการ
                  ส่งเสริมให้มีบทบาททางการเมือง หากพิจารณาสัดส่วนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามเพศจากจำานวน

                  ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทั้งหมด 1,307,083 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 620,313 คน และเพศหญิง 686,770 คน
                  คิดป็นสัดส่วนเพศชายร้อยละ 47.46 เพศหญิงร้อยละ 52.54 ซึ่งมีจำานวนใกล้เคียงกัน แต่หากดูจากแผนภาพ 4.4

                  จะเห็นว่าร้อยละของการลงคะแนนให้ผู้สมัคร ส.ส. ผู้ชายมีสูงถึงร้อยละ 69 และลงคะแนนให้ผู้สมัคร ส.ส. ผู้หญิง
                  ร้อยละ 24


                          จากข้อมูลพบว่า ผู้สมัคร ส.ส. ผู้หญิงของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่มองว่า การเมือง
                  เรื่องเพศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น แต่การเปลี่ยนผ่านความเชื่อเรื่องเพศก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า เพราะเรื่องเพศ

                  ยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แม้สังคมจะเปิดกว้างมากขึ้น ให้โอกาสและสิทธิแก่ผู้หญิงในทางสังคมเทียบเท่ากับ

                  ผู้ชาย แต่ในแง่ของเจตคติของคนยังคงเห็นความแตกต่างทางเพศที่มีข้อจำากัดแตกต่างกัน ความเป็นผู้หญิงทำาให้
                  ต้องระมัดระวังในพฤติกรรมกิริยาในฐานะของทั้งภรรยาและแม่ที่มาทำางานทางการเมือง ความแตกต่างของเพศ
                  ในการทำางานทางการเมืองที่เห็นชัดเจน อย่างแรกคือ ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เข้าสู่สนามการเมืองต้องพิสูจน์ตัวเองก่อน
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100