Page 94 - kpiebook63011
P. 94
94 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
เขตเลือกตั้ง ชื่อ คะแนน
นางสาวศรีนวล บุญลือ 29,556
นางสาวกชพรรณ เขียวเหมย 790
นางสาวอินทรา บุตรดวงติ๊บ 868
นางสาวศรีสุดา รัตนจริงใจ 131
นางสาววิไลพร วรรณธิกุล 459
นางสโรชา แดงโชติ 125
9 คน 35,475
9 นางสุกัญยา แก้วหน้อย 303
นางสาวรามัยดา ฐานะนิธิภร 450
นางสาวอาริณี ชมภูป้อ 175
3 คน 928
รวม 73 คน 256,352
ที่มา จากการประมวลผลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและจัดทำาตารางโดยผู้วิจัย
จากตาราง 4.5 เมื่อแยกแยะข้อมูลผู้สมัครหญิงเรียงตามเขตเลือกตั้ง จะเห็นว่าคะแนนของผู้สมัคร ส.ส.
ผู้หญิง ในบางเขตเลือกตั้งเช่น เขต 1, 2, 4, 5, 8 มีคะแนนอยู่ใน 3 อันดับแรก โดยมีจำานวนผู้หญิงใน 5 เขตนี้
จำานวน 7 คน โดยผู้สมัครหญิง 3 คนมาจากกลุ่มตระกูลการเมืองซึ่งมีประสบการณ์การเมืองทั้งในระดับชาติ
และระดับท้องถิ่น ได้แก่ นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ และนางสาวเดือนเต็มดวง
ณ เชียงใหม่ ในขณะที่อีก 2 คนมีประสบการณ์ในการมีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นแต่ไม่เคยลงสมัคร
รับเลือกตั้ง ส.ส. ได้แก่ นางศรีพรรณ์ เขียวทอง และนางสาวศรีนวล บุญลือ และมี 2 คนที่เป็นการลงสมัคร
รับเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งแรกและไม่เคยมีประสบการณ์ทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาก่อน
โดยสังกัดพรรคอนาคตใหม่ คือ นางสาวศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ และนางสาวณัชชา โปธายี่ หากพิจารณามิติ
ความแตกต่างทางเพศจะเห็นว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้หญิงแสดงบทบาททางการเมืองในฐานะตัวแทนทาง
การเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการมีจำานวนพรรคการเมืองลงแข่งขันมากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดการเลือกตั้งมา
ยิ่งเปิดพื้นที่ของโอกาสของผู้หญิง ระบบการเลือกตั้งที่นับทุกคะแนนทำาให้มิติของเพศไม่ใช่ประเด็นสำาคัญ
อันดับแรกในการพิจารณาการคัดเลือกตัวแทนในการลงสมัครในนามพรรคการเมือง