Page 102 - kpiebook63011
P. 102
102 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
นโยบายธงฟ้าประชารัฐ การเน้นเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยต้องไม่เน้นการใช้คำาว่า “ประชานิยม” มาหาเสียง
เพราะจะทำาให้คนรำาลึกถึงพรรคเพื่อไทย และเน้นการนำาเสนอในลักษณะของตัวบุคคลที่เป็นผู้สมัครมากกว่าพรรค
การหาเสียงที่เน้นบทบาทของ ส.ส.ในการทำางานเพื่อประชาชนในพื้นที่เชียงใหม่ ในบางชุมชนที่ผู้สมัครเข้าไป
หาเสียงต้องหลีกเลี่ยงการบอกว่ามาจากพรรครัฐบาล แต่เป็นพรรคที่สนับสนุนรัฐบาล และพยายามพูดเรื่อง
การแก้ปัญหาหากตนได้รับเลือก เพราะจะทำาให้คะแนนที่ได้ส่งผลให้พรรคตนได้เป็นรัฐบาลในที่สุด
ในขณะที่พรรคเก่าแก่ดังเช่นพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งข้อมูลในพื้นที่พบว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มี
ความตื่นตัวในพื้นที่เชียงใหม่ เพราะไม่มีกิจกรรมทางการเมืองระหว่าง ส.ส. ผู้สมัคร หรือนักการเมืองท้องถิ่น
ในจังหวัดเชียงใหม่มากนัก เนื่องจากไม่ใช่พื้นที่ที่เป็นฐานคะแนนหลัก พรรคประชาธิปัตย์แม้จะส่งผู้สมัคร ส.ส.
ครบทั้ง 9 เขต แต่ความคาดหวังในการได้ ส.ส.ในจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้สูงมากนัก โดยพิจารณาจากกลยุทธ์
การหาเสียง ความจดจำาในนโยบายของประชาชนในพื้นที่ ยังเข้าไม่ถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ด้วยระบบเลือกตั้ง
จึงทำาให้ต้องมาเอาคะแนนเสียงเพื่อระบบบัญชีรายชื่อ ทำาให้การทุ่มเททรัพยากรมาในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่
อาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจหากมองย้อนไปศึกษาประวัติศาสตร์การเลือกตั้งจังหวัด
เชียงใหม่จะเห็นว่า ในอดีตพรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งและได้รับความนิยมในจังหวัด
เชียงใหม่ ซึ่งความอ่อนแอของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ภาคเหนือ สามารถพิจารณาจากยุทธศาสตร์ของพรรค
ที่ยังไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ได้อย่างชัดเจน รวมทั้งการปรับตัวของการเมืองท้องถิ่นที่ฐานเสียง
ท้องถิ่นของประชาธิปัตย์ไม่มีการเติบโตขยายผลทางการเมือง
ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่จังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วภาคเหนือ
เหมือนกัน คือ การสวิงโหวต หรือ การผันแปรของคะแนนไปสู่พรรคอื่น กรณีของการยุบพรรคไทยรักษาชาติได้มาสู่
การสร้างกระแสการเลือกพรรคอนาคตใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่ในจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้มีลักษณะของการเทคะแนน
ของพรรคไทยรักษาชาติมาสู่พรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากพรรคไทยรักษาชาติไม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขต
เลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่แม้แต่เขตเดียว แต่กระแสที่เกิดจากการยุบพรรคไทยรักษาชาติคือ การเลือกพรรคที่เป็น
ฝ่ายเดียวกับพรรคเพื่อไทย จากการสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งด้วยการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus-group Interview)
พบว่า พรรคเพื่อไทยบางเขตมีลักษณะช่วยหาเสียงให้พรรคอนาคตใหม่ โดยการสัมภาษณ์จากประชาชนใน
พื้นที่ กล่าวว่าการช่วยหาเสียงคือ การให้ในครอบครัวแชร์คะแนนให้กับพรรคเพื่อไทยและอนาคตใหม่ “คนใน
ครอบครัวเรามีผู้มีสิทธิลงคะแนนกี่คน เช่น ถ้าเรามีกัน 5 คน ก็ให้ไปลงให้เพื่อไทยสัก 3 คนแล้วลงให้อนาคตใหม่
2 คน เค้าต้องกันไม่ให้คะแนนไปพรรคอีกพรรคหนึ่ง” (สัมภาษณ์ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหนึ่ง
จังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งยุทธศาสตร์การหาเสียงนี้ถือเป็นไปโดยระบบการคำานวณคะแนนเสียงรวมที่หาก
พรรคการเมืองใดได้รับการลงคะแนนเสียงรวมทั่วทั้งประเทศมากอาจจะไม่ได้มี ส.ส.ในระบบปาร์ตี้ลิสต์เลย 15
15 การคำานวณหาจำานวน “ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์” ของแต่ละพรรคที่ “พึงจะมี” โดยการนำาจำานวน “ส.ส.พึงมี” ลบด้วยจำานวน
ส.ส.เขต ที่พรรคได้รับเลือกตั้ง ทั้งนี้ หากพรรคใดได้จำานวน ส.ส.เขต “เท่ากับหรือมากกว่า” จำานวน “ส.ส.พึงมี” จะไม่ได้
ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (1) (2) (3) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วย
การเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (1) (2) (3)