Page 535 - kpiebook63010
P. 535

534      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      ขณะที่ในระดับพรรคนั้น พรรคอนาคตใหม่ให้ความสนใจกับการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ทางพรรค

             นั้นเล็งว่ายังไม่เคยเข้าถึง ด้วยว่าพรรรคนั้นเจาะกลุ่มเป้าหมายแรกคือคนรุ่นใหม่ แต่สิ่งที่ยังขาดก็คือ เป้าหมาย
             คนวัยท�างานและผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้ว การซื้อโฆษณา (boost content) จึงเป็นไปในการเจาะไปที่กลุ่มเป้าหมาย

             ที่ชอบดูนิตยสารหรือเฟซประเภทแม่และเด็ก (การสร้าง profile lookalike ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อายุ เพศ เขต
             และ การใช้ชีวิต - lifestyle)  นอกจากนั้นแล้ว พรรคฯยังเชื่อว่าการหาเสียงนั้นจะไม่ได้ผลถ้าซื้อโฆษณาลงไป

             ในพื้นที่เขตเลือกตั้งเดียว เพราะโดยธรรมชาติของประชากรกรุงเทพนั้นไม่ได้อยู่ในเขตตัวเอง และ หรืออยู่ใน
             เขตตัวเองทั้งวัน ดังนั้นหากโฆษณาลงไปในเขตเลือกตั้งตัวเองอาจจะได้เฉพาะคนที่ใช้ชีวิตในเขตนั้นในเวลาที่

             ลงโฆษณาไปเท่านั้นเอง เขาอาจจะไม่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น


                      ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการใช้สื่อโซเชียลในการเลือกตั้งก็คือ พรรคฯและผู้สมัครนั้นสามารถ
             น�าเอาข้อมูลผู้เข้าชมมาท�าวิเคราะห์ (data analysis) ภายในพรรคเอง และได้ข้อมูลฉับพลันทันที ซึ่งในขั้นตอนนี้

             ขึ้นอยู่กับทางพรรคว่าจะเลือกทีมงานภายในพรรค หรือ ข้างคนนอกมาวิเคราะห์ โดยหนึ่งในปัจจัยที่ส�าคัญคือ
             ความไว้เนื้อเชื่อใจและการเก็บความลับ


                      เครือข่ายเฟซบุ๊กยังมีประโยชน์ในแง่ที่ว่า เมื่อผู้เข้าชมกดติดตามและแจ้งเตือน ข้อมูลใหม่ ๆ ก็จะเข้าถึง

             ผู้ติดตามได้อย่างทันท่วงที เฟซบุ๊กนั้นยังท�าหน้าที่ในการถ่ายทอดรายการของพรรคหรือของผู้สมัครได้
             ผ่านเฟซบุ๊ก หรือ เชื่อมโยงไปที่สถานียูทูปของพรรค นอกจากนั้น การเติม # (hashtag หรือ แฮชแทค)
             ไว้หลังข้อความที่ต้องการรณรงค์ หรือ สื่อสาร ก็มีผลต่อการเผยแพร่ข้อความเหล่านั้นและการรณรงค์อย่างยิ่ง

             เปรียบเสมือนการชุมนุมอย่างกระทันหันที่ไม่ได้วางแผนกันไว้ก่อน ท�าให้เกิดความสนใจและสังเกตการณ์

             จากฝ่ายตรงข้ามได้ยาก (flash mob)


                      อีกองค์ประกอบที่ส�าคัญในการรณรงค์บนเครือข่ายออนไลน์ได้แก่บรรดา “หัวคะแนนออนไลน์”
             หรือ influencer ซึ่งไม่ได้มีส่วนกับพรรคโดนตรง แต่เป็นผู้สนับสนุนพรรคและผู้สมัครโดยธรรมชาติ ทั้งนี้
             influencer ก็มีหลายระดับ ในระดับที่เป็นผู้มีชื่อเสียงมาก เช่น ศิลปิน นั้นจะเปิดตัวช้าจนกว่าจะถึงช่วงสุดท้าย

             ของการรณรงค์ฯ ขณะที่ influencer รายย่อย ๆ (micro-influencer) นั้นมีความส�าคัญคือกลุ่มที่มีผู้ติดตาม

             หลักพัน หลักหมื่นกลับมีบทบาทที่เข้มแข็ง และส่งผลส�าคัญต่อการเผยแพร่ข่าวสารและรณรงค์

                      แม้ว่าในคราวนี้การรณรงค์ออนไลน์จะมีข้อจ�ากัดจากกฎระเบียบมากมาย แต่การรณรงค์ออนไลน์นั้น

             เป็นการรณรงค์ที่ใช้งบประมาณไม่มาก และคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการใช้สื่อในแบบเดิม
   530   531   532   533   534   535   536   537   538   539   540