Page 532 - kpiebook63010
P. 532

531








                          2. ระบบอุปถัมภ์ในระดับเขตและเมือง: ระบบอุปถัมภ์ที่เชื่อมกับชุมชนจากภายนอกในระดับแรก

                  คือ เขต ที่เป็นหน่วยงานระดับพื้นที่ของ กทม. ชุมชนนั้นมีความสัมพันธ์กับเขตด้วยงบประมาณที่มี
                  การจัดหาให้จากเขตผ่านงบพัฒนาชุมชน นอกเหนือไปจากงบประมาณทั่วไปที่ กทม.จะต้องจัดสรรลงไป

                  ในเขตอยู่แล้ว นอกจากความสัมพันธตรงระหว่างชุมชนกับเขตแล้ว ชุมชนยังมีความสัมพันธ์กับสมาชิกสภาเขต
                  (สข.) สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งทั้งสามต�าแหน่งนี้

                  เป็นนักการเมืองในระดับเมือง ที่จะต้องลงมาหาเสียงและสร้างความสัมพันธ์ในท้องที่และพึ่งพาซึ่งกันและกัน
                  รวมทั้งจัดสรรงบประมาณส่วนอื่นผ่านลงไปยังกลไกของการบริหารราชการของ กทม.


                          3. ระบบอุปถัมภ์ในระดับประเทศ: ระบบอุปถัมภ์ในระดับประเทศในรอบนี้มีเรื่องของนโยบาย

                  อุดหนุนจากรัฐ ที่ท�าอย่างเป็นระบบ อาทิ นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกง่าย ๆ “บัตรคนจน”
                  ซึ่งข้อกังวลในรอบนี้ของผู้ลงคะแนนจ�านวนไม่น้อยในชุมชน เชื่อว่าถ้าไม่เลือกพรรคพลังประชารัฐ โครงการ

                  ดังกล่าวอาจถูกล้มเลิกได้



                          4.4.2.4 การใช้สื่อ และการใช้งบประมาณ


                          การใช้สื่อในการเลือกตั้งในรอบนี้ แบ่งได้เป็นสองส่วน คือ สื่อเดิมและสื่อใหม่หรือสื่อโซเชียล


                          การใช้สื่อเดิม: ประกอบด้วยการแจกแผ่นพับ แผ่นพก ป้ายหาเสียง รวมไปถึงขบวนหาเสียงทั้งรถแห่
                  และการเดินเท้าเข้าพบประชาชน


                          แผ่นพับและแผ่นพกยังมีความจ�าเป็นอยู่ในสองประการ หนึ่งคือ มีไว้เพื่อการแนะน�าตัวกับประชาชน
                  ถือเป็นธรรมเนียมในการมอบของแนะน�าตัว ขณะที่หาเสียงพบปะประชาชน สองคือ มีไว้เพื่อให้กับประชาชน

                  ได้ทราบถึงเนื้อหาหลักที่ผู้สมัครและพรรคต้องการน�าเสนอ โดยเฉพาะในเรื่องของนโยบายหลักของพรรค

                  และผู้สมัคร


                          อย่างไรก็ตาม ในรอบนี้มีกรอบกฎหมายที่เปลี่ยนไปที่ก�ากับการแจกแผ่นพับนั่นก็คือ การแจกแผ่นพับ
                  และแผ่นพกนั้นจะต้องแจกจากมือของผู้สมัคร และ ผู้ช่วยหาเสียงที่ลงทะเบียนกับ กกต. เท่านั้น ซึ่งเป็นไปตาม
                  ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิก

                  สภาผู้แทนราษฎร


                          ส�าหรับป้ายหาเสียงนั้น ป้ายหาเสียงก็ยังคงมีบทบาทในการน�าเสนอนโยบายและภาพลักษณ์ของ
                  ผู้สมัครและของพรรคเช่นเคย ประเด็นท้าทายในรอบนี้มีสองเรื่อง หนึ่งคือ ด้วยการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหม่ ท�าให้

                  พรรคการเมืองมีเลขไม่ตรงกันในแต่ละเขต จึงท�าให้เกิดการตั้งค�าถามในหมู่ผู้สมัครว่าป้ายจะมีผลไหม เพราะพื้นที่
                  ในกรุงเทพนั้นติด ๆ กัน และมี 30 เขต ซึ่งอาจท�าให้เกิดความสับสนส�าหรับคนในกรุงเทพฯ ที่เดินทางมากกว่า

                  หนึ่งเขต นอกจากนั้น ในรอบนี้กฎระเบียบเรื่องการติดป้ายนั้นออกมาช้ากว่าที่เคยผ่านมา ท�าให้มีช่วงที่ผู้สมัคร
                  ติดป้ายไปก่อน แล้วต้องรื้อออกมา โดยการจะติดป้ายหาเสียงเลือกตั้งได้นั้นต้องรอการประกาศพระราชกฤษฎีกา
   527   528   529   530   531   532   533   534   535   536   537