Page 527 - kpiebook63010
P. 527
526 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
การจัดตั้ง มีคณะกรรมการขุมชน นั่นคือ “ชุมชน” กับ “บ้านมีรั้ว”ซึ่งเป็นค�าที่รับรู้และเข้าใจทั่วไปในโลกของการเมือง
ในกรุงเทพมหานครทั้งในส่วนของการเมืองในระดับมหานคร (การให้บริการสาธารณะ) และ การเมืองในมิติ
ของการเลือกตั้ง ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่น (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และ สมาชิกสภาเขต) หรือขยายความอีกอย่างก็คือ “ชุมชนแบบชุมชน” และ “ชุมชนแบบบ้านมีรั้ว”
การจ�าแนก “ชุมชน” กับ “บ้านมีรั้ว” มีผลในการก�าหนดยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง และก�าหนดยุทธวิธี
ในการหาเสียงเป็นอย่างมาก เพราะท�าให้ผู้สมัครจะต้องเข้าใจและเข้าถึงคะแนนเสียงให้ได้
ในความเข้าใจทั่วไป กรุงเทพมหานครนั้นเป็นพื้นที่เมืองทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงพื้นที่ในแบบชุมชน
ของกรุงเทพมหานครนั้นยังมีความส�าคัญอยู่มาก และมีแบบแผนการลงคะแนนที่แตกต่างไปจากบ้านมีรั้วซึ่งมี
วิถีชีวิตทางการเมืองที่ไม่เหมือนกัน มากกว่าจะพิจารณาว่าชุมชนบ้านมีรั้วนั้น “ไม่มีความเป็นชุมชน”
เอาเสียเลย หากแต่ชุมชนบ้านมีรั้วก็มีความเป็นชุมชน แต่ไม่ได้ถูก “จัดตั้ง” ให้เป็น “ชุมชน” ในแบบที่มีกรอบ
ก�าหนดด้วยกฎหมายในระดับท้องถิ่น และไม่มีพลวัตรทางการเมืองในแบบชุมชน แต่ก็มีจินตกรรมของความเป็น
ชุมชนในแบบอื่นที่ข้ามข้อจ�ากัดทางกายภาพ และเชื่อมโยงผ่านสื่อมวลชนและสื่อใหม่กว่าพื้นที่โดยรอบ
ตาราง 4.47 จ�านวนขุมชนรายเขตกรุงเทพมหานคร
เขต จ�านวนชุมชน เขต จ�านวนชุมชน
คลองเตย 41 บึงกุ่ม 38
คลองสาน 42 ปทุมวัน 17
คลองสามวา 81 ประเวศ 43
คันนายาว 42 ป้อมปราบศัตรูพ่าย 14
จตุจักร 42 พญาไท 29
จอมทอง 50 พระโขนง 44
ดอนเมือง 95 พระนคร 20
ดินแดง 23 ภาษีเจริญ 54
ดุสิต 48 มีนบุรี 64
ตลิ่งชัน 43 ยานนาวา 18
ทวีวัฒนา 16 ราชเทวี 24
ทุ่งครุ 29 ราษฎร์บูรณะ 27
ธนบุรี 44 ลาดกระบัง 65