Page 523 - kpiebook63010
P. 523

522      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             มีค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 ออกมาแก้ไขให้การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งท�าโดยให้มีคณะกรรมการ

             สรรหาฯ ที่ประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมือง 4 คน และตัวแทนที่สมาชิกพรรคการเมืองเลือก 7 คน
             มีอ�านาจในการพิจารณาเลือกผู้สมัคร และเสนอคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองให้ความเห็นชอบ

             และให้คณะกรรรมการสรรหาฯ รับฟังความเห็นของหัวหน้าสาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจ�า
             จังหวัด และสมาชิกที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาในการสรรหาด้วย (iLaw, 2561)


                      กล่าวโดยสรุป แม้จะมีอุปสรรคมากมาย แต่พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็พร้อมลงสู่สนามในการแข่งขัน

             อย่างเต็มที่ แม้ตัวพรรคอนาคตใหม่จะเห็นว่าเวลาในการเตรียมการนั้นกระชั้นกระชิดมาก และในช่วงนั้น
             พรรคอาจจะยังไม่ได้ตัวผู้สมัครมาจากกลุ่มผู้สมัครที่มีจ�านวนมากพอ แต่พรรคอนาคตใหม่ก็ยังเป็นพรรคที่

             สร้างสรรค์แนวทางใหม่ ๆ ในการเตรียมพร้อมการเลือกตั้งอยู่หลายประการ อาทิ การรับสมัครสมาชิกทางออนไลน์
             การระดมทุนในช่องทางต่าง ๆ  ได้แก่ เงินค่าสมาชิก การขายสินค้า (ประชาไท, 2561ข)




             4.4.2 ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการหาเสียง: พื้นที่ ชุมชน ระบบอุปถัมถ์ และการใช้สื่อ



                      โดยภาพรวมเราสามารถแบ่งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการหาเสียงออกเป็น 3 ส่วน 1) คือความเข้าใจ
             พื้นที่ ซึ่งน�าไปสู่การคิดค้นยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการหาเสียง 2) ชุมชน ระบบอุปถัมภ์ และพันธะสัญญา

             และ 3) เรื่องของการใช้สื่อและการใช้งบประมาณในการรณรงค์หาเสียง




                     4.4.2.1 การท�าความเข้าใจพื้นที่และความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่


                      ส่วนส�าคัญส่วนหนึ่งในการได้ชัยชนะในการเลือกตั้งและการแข่งขันในช่วงการรณรงค์หาเสียง
             ก็คือ “การลงพื้นที่” หรือการรณรงค์หาเสียงในพื้นที่  โดยในลงพื้นที่น้ั้นปัจจัยในการได้รับชัยชนะก็คือ
             การท�าความเข้าใจพื้นที่และการเข้าถึงพื้นที่


                      การเป็นคนในพื้นที่ของแต่ละเขตกรุงเทพมหานครนั้น ไม่ใช่ประเด็นที่ก�าหนดชัยชนะหรือความพ่ายแพ้

             ในการเลือกตั้งโดยตรง เพราะผู้สมัครหลายรายก็เป็นคนในพื้นที่แต่ไม่ประสบชัยชนะ ดังนั้นสิ่งส�าคัญก็คือ

             ความสามารถในการวิเคราะห์และเข้าถึงพื้นที่ได้ต่างหาก

                      อาจกล่าวได้ว่าสิ่งส�าคัญในการเลือกตั้งในรอบนี้ส่วนหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของ

             กรุงเทพมหานครในแต่ละเขต นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการเกิดคนรุ่นใหม่ในแง่การวิเคราะห์
             ภาพรวมระดับประเทศ


                      ตัวอย่างที่พึงพิจารณาก็คือในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งมีทั้งหมด 9 เขตนั้น เป็นพื้นที่ที่อนาคตใหม่นั้นได้ชัยชนะ

             ไปใน 6 เขต คือ เขตที่ 22 คลองสาน บางกอกใหญ่ ธนบุรี (ยกเว้นแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงส�าเหร่)
             เขตที่ 23 จอมทอง ธนบุรี (เฉพาะแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงส�าเหร่) เขตที่ 24 ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ
   518   519   520   521   522   523   524   525   526   527   528