Page 525 - kpiebook63010
P. 525
524 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
ฉบับที่ 2-2536 และ ฉบับที่ 3-2539) ความเป็นชุมชนในความหมายทางการบริหาร (บริเวณที่กลุ่มคนอาศัย
อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวพันกัน) มีผลต่อการได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาชุมชน (งบประมาณ)
จากทางกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ การบริหารจัดการชุมชนนั้นจะต้องมี “คณะกรรมการชุมชน” ซึ่งหมายถึง
ตัวแทนของสมาชิกชุมชนซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกชุมชน (ซึ่งได้แก่ ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านในชุมชนนั้น)
โดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. 2555 ได้แยกแยะประเภท
ของชุมชนเอาไว้ว่า มีทั้งหมด 6 ชนิด
1. “ชุมชนแออัด” หมายความว่า ชุมชนที่มีลักษณะบ้านเรือนหนาแน่น ประชาชนอยู่อย่างแออัด
2. “ชุมชนเมือง” หมายความว่า ชุมชนที่มีลักษณะของบ้านเรือนอยู่รวมกันค่อนข้างหนาแน่น
แต่ไม่แออัด มีสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการคมนาคมสะดวก
3. “ชุมชนชานเมือง” หมายความว่า ชุมชนที่มีพื้นที่ด้านเกษตรกรรม มีบ้านเรือนไม่แออัด
4. “เคหะชุมชน” หมายความว่า ชุมชนที่เคยอยู่ในความดูแลของการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งชุมชน
ที่การเคหะแห่งชาติยังคงดูแลอยู่ แต่ได้ให้ความยินยอมในการจัดตั้งเป็นชุมชนได้
5. “ชุมชนอาคารสูง” หมายความว่า ชุมชนที่มีสภาพเป็นแฟลต คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์
หรืออาคารอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ยกเว้นแฟลตของการเคหะแห่งชาติที่เป็นนิติบุคคล
6. “ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร” หมายความว่า ชุมชนที่มีการจัดสร้างขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรร
ที่ดิน ยกเว้นที่เป็นนิติบุคคล
การจัดตั้งชุมชนทั้ง 6 แบบนั้นมีเงื่อนไขอยู่หลายประการ แต่จะต้องมีจ�านวนบ้านที่ประชาชนมีชื่อ
อยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยหลัง และมีกลุ่มด้านการพัฒนาชุมชนอย่างน้อยสามกลุ่ม เช่น กลุ่มอาชีพ
กลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มทางสังคม เป็นต้น และมีระยะเวลาจัดตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน โดยมีหลักฐาน
การด�าเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการชุมชนประกอบด้วยต�าแหน่งไม่น้อยกว่า 6 ต�าแหน่งคือ ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) ประธานกรรมการ
(2) รองประธานกรรมการ
(3) เลขานุการ
(4) เหรัญญิก
(5) นายทะเบียน
(6) ประชาสัมพันธ์
(7) ต�าแหน่งอื่นใด ตามที่คณะกรรมการชุมชนเห็นสมควรแต่งตั้ง