Page 521 - kpiebook63010
P. 521

520      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร






             4.4 บทวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การหาเสียงในการเลือกตั้ง


             24 มีนาคม พ.ศ. 2562




                      ในการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การหาเสียงของการเลือกตั้งในรอบนี้ จะครอบคลุมประเด็นการเตรียมพร้อม

             ในการเลือกตั้ง วิธีการการหาเสียง และ วิธีกระตุ้นให้ประชาชนออกไปเลือกตั้ง ลักษณะสื่อที่ใช้ในการหาเสียง
             และยุทธวิธีในการหาเสียง บทบาทของการปราศัยและขบวนหาเสียง บทบาทของสื่อออนไลน์เมื่อเปรียบ

             เทียบกับสื่ออื่น ๆ รวมถึงการทุจริตในการหาเสียงและการแข่งขันในส่วนที่ปิดบัง รวมทั้งความผิดความผิดปกติ
             ในการเลือกตั้งอื่น ๆ โครงสร้างระบบอุปถัมภ์และความส�าคัญของหัวคะแนนและการสร้างพันธะสัญญาอื่น ๆ

             โครงสร้างระบบชุมชน ค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรและผลจากการมีข้อกฎหมายบังคับ


                      ข้อมูลทั้งหมดในส่วนนี้มาจากการสัมภาษณ์ตัวแทนของพรรคหลักทั้ง 4 พรรคคือ พรรคพลังประชารัฐ
             พรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอนาคตใหม่ และพรรคเพื่อชาติ นอกจากนั้น ยังรวม

             ไปถึงการสัมภาษณ์คณะท�างานของหน่วยสังเกตการณ์เลือกตั้ง (เเอนเฟรล และ วีวอช) ตลอดจนประธานชุมชน


                      ความเชื่อมโยงระหว่างบทวิเคราะห์ส่วนนี้กับบทวิเคราะห์ส่วนต่อไปก็คือ บทวิเคราะห์ในส่วนนี้คือ
             ยุทธศาสตร์การหาเสียงในการเลือกตั้ง จะให้ความส�าคัญไปที่มุมมองของพรรคและผู้สมัครเป็นหลัก ขณะที่

             บทวิเคราะห์ในส่วนต่อไป คือบทวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกตั้ง จะให้ความส�าคัญไปที่เรื่องของมุมมองของผู้ลงคะแนน



             4.4.1 การเตรียมพร้อมในการเลือกตั้ง



                      การพิจารณาความพร้อมในการเลือกตั้งในครั้งนี้ของนักการเมืองและพรรคการเมืองนั้น อาจจะต้อง
             แบ่งการพิจารณาออกเป็นเรื่องของการเตรียมการของพรรคในเรื่องกิจการของพรรค และความพร้อมในการ
             “ลงพื้นที่” แต่ทั้งสองส่วนนี้ไม่ใช่เรื่องที่เป็นสภาวะปกติของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เคยผ่านมา เพราะว่า

             การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่เว้นห่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาประมาณ 8 ปี และเป็นการเว้น

             ห่างด้วยการถอยออกจากประชาธิปไตย ด้วยการท�ารัฐประหารที่มีทั้งส่วนการใช้กฎหมายในลักษณะพิเศษของ
             คณะรัฐประหารในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพเดิมที่มีอยู่ในระบอบประชาธิปไตย และห้ามมีกิจกรรมทางการเมือง
             เรื่องเหล่านี้ท�าให้การเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งนั้นไม่ได้เป็นไปเหมือนสภาวะปกติของระบอบประชาธิปไตย

             ที่ผ่านมา ที่นักการเมืองมีความยึดโยงกับประชาชนในพื้นที และนักการเมืองกับพรรคการเมืองมีภารกิจในสภา


                      นักการเมืองหลายคนที่เคยเชื่อมโยงกับระบอบทักษิณถูกระงับการท�าธุรกรรมทางการเงิน
             ห้ามเดินทาง และต้องรายงานตัว เช่น กรณีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยในตอนนั้น

             และนายจาตุรนต์ ฉายแสง ถูกค�าสั่ง คสช. ที่ 10/2557 ระงับการท�าธุรกรรมทางการเงิน (ส�านักข่าวอิศรา, 2557)
             การเรียกอดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทยและแกนน�าเสื้อแดงจ�านวนหนึ่งรายงานตัวกับ คสช. (โพสต์ทูเดย์, 2557ค)

             กรณีนายจาตุรนต์ ฉายแสง ถูกค�าสั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง (เดลินิวส์, 2559) และอื่น ๆ
   516   517   518   519   520   521   522   523   524   525   526