Page 524 - kpiebook63010
P. 524
523
เขตที่ 25 บางขุนเทียน เขตที่ 27 ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงตลิ่งชันและแขวงฉิมพลี) หนองแขม (ยกเว้น
แขวงหนองแขม) และเขตที่ 28 บางแค ขณะที่พรรคอนาคตใหม่นั้นได้รับชัยชนะในฝั่งกรุงเทพมหานครเพียง
3 เขต จาก 21 เขต คือ เขตที่ 3 บางคอแหลม ยานาวา เขตที่ 20 สวนหลวง ประเวศ (เฉพาะแขวงหนองบอน
และแขวงดอกไม้) และเขตที่ 21 บางนา พระโขนง ถ้าเราเพียงใช้ค�าอธิบายว่าพื้นที่ฝั่งธน 6 เขตเป็นเขตของ
คนรุ่นใหม่ และ พื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นเขตคนรุ่นใหม่เพียงแค่ 3 เขตซึ่งไม่ใช่เขตพื้นที่ชั้นใน แต่เป็นที่พักอาศัย
ก็จะคงจะไม่ใช่ค�าอธิบายที่ครบถ้วน
ฉนั้น เราไม่สามารถวิเคราะห์ได้แค่ว่าเสียงของคนรุ่นใหม่เท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงกรุงเทพมหานครได้
โดยไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงรายเขต เพราะเสียงของคนรุ่นใหม่นั้นมีอยู่ในทุกเขต แต่เสียงของคนรุ่นใหม่
ไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดโดยอัตโนมัติ ที่จะท�าให้ได้รับชัยชนะถ้าไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่
และในอีกด้านหนึ่ง การท�าความเข้าใจพื้นที่ก็มีผลท�าให้เกิดความเป็นไปได้ว่า เพราะพื้นที่บางพื้นที่นั้น
มีการแข่งขันกันมากเกินไป ขณะที่พื้นที่อีกพื้นที่หนึ่งนั้นฝ่ายที่แข่งขันกันก็เข้าไม่ถึง
สิ่งที่ต้องการน�าเสนอก็คือ ในการแข่งขันรอบนี้เป็นการแข่งขันที่เข้มข้น และไม่มีเขตใดที่ผู้ที่ได้คะแนน
ที่หนึ่งจะชนะเด็ดขาดโดยที่เมื่อรวมผู้ที่ได้คะแนนที่เหลือแล้วจะยังชนะอยู่ และคะแนนเฉลี่ยของความห่างระหว่าง
ที่หนึ่งกับที่สองใน 30 เขตนั้นอยู่ที่ 4651.9 เท่านั้น) และในเขตที่คะแนนห่างกันน้อยที่สุดก็คือเขต 28 บางแค
ที่ผู้สมัครอนาคตใหม่ (29,590) ชนะผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ (29,413) ไปที่คะแนนเพียง 177 คะแนน
ในมุมมองของผู้สมัครนั้น การท�าความเข้าใจพื้นที่มีความส�าคัญไม่น้อยกว่าการลงพื้นที่ เพราะการลงพื้นที่
โดยไม่มีความเข้าใจในพื้นที่นั้นมักส่งผลให้เกิดความพ่ายแพ้ได้ โดยเฉพาะการท�าความเข้าใจเรื่องของ “ชุมชน”
4.4.2.2 “ชุมชน”: “สองนคราประชาธิปไตย” ในระดับพื้นที่เมือง
สิ่งที่ต้องแยกแยะให้ชัดเจนก็คือการซ้อนทับกันของค�าว่า “ชุมชน” ในทางแนวคิดทฤษฎี ซึ่งหมายถึง
community หรือลักษณะของการอยู่ร่วมกันของผู้คนในทางกายภาพ คือมีการตั้งถิ่นฐาน สิ่งปลูกสร้าง และในอีก
ส่วนหนึ่งก็คือมิติทางสัญลักษณ์ตามที่ Cohen (1985) ชี้ว่า ชุมชนจะต้องมีขอบเขตที่ท�าให้คนภายในชุมชนนั้น
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นกลุ่มและมีสายสัมพันธ์บางประการที่เชื่อมโยงกัน และมีอัตลักษณ์ร่วมกัน
(Cohen, 1985) กับค�าว่า “ชุมชน” ในโลกทัศน์และชีวทัศน์ของการเมืองการปกครอง/การบริหารกรุงเทพมหานคร
ค�าว่า ”ชุมชน” มีสถานะพิเศษในการเมืองและการบริหารของกรุงเทพมหานครด้วย เพราะค�าว่า
ชุมชนในความหมายนี้เป็น “ความหมายทางการบริหาร” ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนกลุ่มชุมชนบางกลุ่ม
ที่ผ่านเกณฑ์ตาม ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน
พ.ศ. 2555 (ซึ่งอาศัยอ�านาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และปรับปรุงมาจาก ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2534