Page 529 - kpiebook63010
P. 529

528      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      การแบ่งชุมชนออกเป็นสองแบบ ท�าให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ของการเลือกตั้งและยุทธวิธีในการหาเสียง

             นั้นจะแตกต่างกัน การเข้าถึงชุมชนนั้นจะใช้เครือข่ายการเมืองและการบริหารท้องถิ่น และสิ่งที่นักการเมือง
             เรียกว่า “ground war” (การรบภาคพื้นดิน) ในแง่ของการรณรงค์แบบเดิม อาทิ การเดินหาเสียง เคาะประตูบ้าน

             ขบวนแห่ ปราศรัย การติดป้าย (บ้างก็เรียกว่า on-ground campaign)


                      ขณะที่ยุทธศาสตร์ของการเลือกตั้งและยุทธวิธีในการหาเสียงที่มีต่อบ้านมีรั้วนั้นจะต้องใช้วิธี
             ที่เรียกว่า “air war” (การรบทางอากาศ) ซึ่งหมายถึงการหาเสียงผ่านสื่อมวลชนและสื่อโซเชียล เพราะการเดิน

             เข้าไปที่บ้านมีรั้วนั้นจะเข้าไม่ได้ เช่น บ้านจัดสรรสมัยใหม่ที่ไม่อนุญาตให้คนทั่วไปเข้าไปถ้าไม่ขออนุญาต นอกจากนี้
             บ้านมีรั้วจะไม่อยู่บ้านในวันธรรมดา และเสาร์อาทิตย์ต้องการพักผ่อน การใช้รถแห่หรือการเดินหาเสียงนั้น

             จะถูกมองว่าเป็นการรบกวนวันหยุด ก่อความร�าคาญ แต่การออกสื่อมวลชน เช่น การออกรายการดีเบต
             หรือการสร้างและออกสื่อโซเชียลนั้นถูกมองว่าเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า ความเป็นชุมชนแบบบ้านมีรั้ว

             อาจมีความเป็นชุมชนที่สูงกว่าในท้องถิ่นนั้น เช่น รู้สึกเป็นส่วนเดียวกันทั้งกรุงเทพฯ หรือกับทั้งประเทศ
             เพราะไม่ได้เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับท้องถิ่นชัดเจนกว่าชุมชนแบบชุมชน


                      การให้บริการชุมชน เช่น ฉีดยุง ฉีดวัคซีนสุนัขและแมวนั้นก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สร้างการเข้าถึง

             “บริการสาธารณะ” ให้กับประชาชน (ทั้งในชุมชนและบ้านมีรั้วบางแห่ง)


                      ในรอบนี้จากการสัมภาษณ์จะพบว่าส่วนหนึ่งที่พรรคอนาคตใหม่นั้นได้รับชัยชนะในพื้นที่นั้นอาจไม่ใช่
             เพราะแย่งคะแนนเสียงเพื่อไทย แต่เป็นเรื่องของการที่พื้นที่ชุมชนนั้นมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่าย (เพื่อไทย กับ
             ประชาธิปัตย์) ด้วยการที่การเลือกตั้งที่ลงหลักปักฐานมานานจนกลายเป็นสถาบันทางการเมือง ที่ยึดโยงกับ

             เครือข่ายนักการเมืองของทั้งสองฝ่าย การเลือกตั้งรอบนี้จึงมีการแย่งชิงคะแนนกันเองของทั้งสามฝ่ายในพื้นที่

             ชุมชนคือ ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ และ เพื่อไทย ขณะที่ในส่วนพื้นที่บ้านมีรั้วนั้น เดิมประชาธิปัตย์อาจมี
             คะแนนเสียงมากอยู่ แต่ในรอบนี้ความโดดเด่นของพรรคอนาคตใหม่นั้นอาจจะมีมากที่สุด ท�าให้คะแนนในส่วนของ
             บ้านมีรั้วมีผลต่อชัยชนะของอนาคตใหม่มากกว่าเพียงคะแนนของคนรุ่นใหม่เท่านั้น


                      นอกจากการแบ่งชุมชนออกเป็น 2 แบบแล้ว ยังมีรายละเอียดของพลวัตรของชุมชนสมัยใหม่

             ในรูปแบบอื่น ๆ อีกเช่น

                      •  ชุมชนแบบคอนโดมิเนียม ซึ่งอาจจะคล้ายกับชุมชนแบบบ้านมีรั้ว คือเข้าถึงได้ยาก ต้องขออนุญาต

                          นิติบุคคลเข้าหาเสียง แต่ประเด็นที่ท้าทายมากขึ้นก็คือ ไม่มีหลักฐานว่าคนที่อาศัยอยู่ในชุมชน
                          คอนโดนั้นจะมีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตนั้น

                      •  ตึกแถว/ริมถนน เป็นเรื่องของพื้นที่เศรษฐกิจ เดินเข้าถึงทักทายได้ ถ้าอยู่ฝ่ายเดียวกันก็จะ

                          เป็นกันเองกับผู้สมัคร

                      •  เขตทหาร(และสถานที่ราชการ) ซึ่งก็เป็นเสมือนบ้านมีรั้วเช่นกัน แต่เขตทหารนั้นก็เข้าได้ยาก และ
                          อาจจะตรงข้ามกับคอนโด คือเขตทหารนั้นผู้คนที่อาศัยอยู่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตนี้เขตเดียวกันหมด
   524   525   526   527   528   529   530   531   532   533   534