Page 530 - kpiebook63010
P. 530

529








                          อีกเงื่อนไขหนึ่งที่ท�าให้การวิเคราะห์ชุมชนและการลงพื้นที่นั้นเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนในการเลือกตั้ง

                  ครั้งนี้ ก็คือการแบ่งเขตการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งการเลือกตั้งครั้งที่แล้วมีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 33 เขต มาคราวนี้เหลือ
                  30 เขต และมีถึง 17 เขตเลือกตั้งเดิมที่ไม่มีการขยับเขต แต่อีก 16 เขตเลือกตั้งเดิมมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่

                  ให้เหลือ 13  เขต ซึ่งในเรื่องนี้มีผลส�าคัญต่อการตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตใดเขตหนึ่งของผู้สมัครเดิม
                  เช่นเคยอยู่เขตหนึ่ง ในรอบนี้เขตของตัวเองแบ่งเป็นสองส่วนไปรวมกับเขตอื่น ๆ ท�าให้ต้องพิจารณาว่าจะลง

                  เขตไหน นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนเขตยังมีผลท�าให้ต้องแสวงหาพันธมิตรและเครือข่ายในพื้นที่ใหม่
                  ที่พื้นที่เก่าของตนนั้นไปคาบเกี่ยวด้วย อาทิ หาทีมงาน หาสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และ สมาชิกสภาเขต

                  และ ประธานชุมชนที่จะมาสนับสนุนฝ่ายตน


                          ในความเข้าใจโดยทั่วไปนั้นมักจะมองว่าชุมชนต้องพึ่ง “หัวคะแนน” และ บ้านมีรั้วนั้นไม่ต้องพึ่ง
                  หัวคะแนน ทั้งที่ในความจริงแล้ว ถ้าเราแยกค�าว่า หัวคะแนนออกจากการซื้อเสียงก่อน คือหน้าที่ของหัวคะแนนนั้น

                  มีหลายอย่างมากกว่าการซื้อเสียง เราอาจจะมองได้ว่า ชุมชนทั้งสองแบบนั้นมีหัวคะแนน กล่าวคือ หัวคะแนน
                  ที่ระดมเสียงในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นลักษณะพื้นฐานของชุมชน กับหัวคะแนนที่ระดมเสียงในระดับเมืองและระดับชาติ

                  ที่เรียกว่า influencer ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทั่วเมือง ทั่วประเทศ ผ่านการโพสสื่อโซเชียลของตัวเอง


                          แม้ว่าการอภิปรายในส่วนนี้ จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการแบ่งแยกชุมชนออกเป็นสองแบบใหญ่คือ
                  ชุมชน กับบ้านมีรั้ว แต่มิติทางวัฒนธรรมนั้นก็มีความส�าคัญโดยเฉพาะในมิติของชุมชนเดิม (จะเห็นว่า ชุมชน
                  ไม่จ�าเป็นต้องเป็นชุมชนเก่าเสมอไป) แต่ความเป็นชุมชนเก่า อาทิ ชุมชนริมน�้า ชุมชนชาวสวน หรือกระทั่ง

                  ชุมชนอิสลาม ก็มีความเป็นชุมชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของหัวคะแนนโดยตรง กล่าวคือ ตัวผู้สมัครมักจะไป

                  งานศพ งานแต่งงาน และบวช โดยผู้สมัครให้เหตุผลว่า งานเหล่านี้สามารถไปได้ทั้งปี ไม่จ�าเป็นต้องไป
                  ช่วงหาเสียง และ โดยโครงสร้างของชุมชนแบบนี้ จะมีญาติมาจากหลายพื้นที่ใกล้เคียง ท�าให้การไปงานหนึ่ง
                  เป็นที่รู้จักและเล่าขานกันต่อไปในพื้นที่โดยรอบ




                          4.4.2.3 ระบบอุปถัมภ์และพันธะสัญญา


                          สิ่งที่ควรตั้งค�าถามในเรื่องของระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่แค่ค�าถามว่ามีหรือไม่มีระบบดังกล่าว หรือ เพียงแค่
                  ระบบอุปถัมภ์นั้นกลายสภาพเป็นแบบไหนกันแน่ แต่สิ่งที่ควรถามคือ รูปแบบของระบบอุปถัมภ์ในระดับมหานคร

                  ในกรุงเทพมหานครนั้นมีหน้าตาอย่างไร วิวัฒนาการมาอย่างไร และ มีความส�าคัญและบทบาทหน้าที่อย่างไร
                  ในการเลือกตั้งในรอบนี้


                          จากการวิเคราะห์ข้อมูล และ การลงพื้นที่สัมภาษณ์ทั้งตัวผู้สมัครและตัวประธานชุมชนเอง พบว่าระบบ

                  อุปถัมภ์ยังมีความส�าคัญในการเลือกตั้งในรอบนี้โดยเฉพาะในระดับชุมชน  แม้ว่าจ�านวนชุมชนในแต่ละพื้นที่
                  จะมีน้อยกว่าจ�านวนชุมชนในรูปแบบอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งการมีการตั้งถิ่นฐานโดยขาดความเป็นชุมชน
                  เพราะขาดความเชื่อมโยงใด ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากคะแนนที่สูสีกันในแต่ละเขตที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ห่างกัน

                  ไม่มากนัก ระหว่าง ผู้ชนะการเลือกตั้ง กับผู้ที่ได้คะแนนเป็นอันดับสอง ใน 30 เขต คือ 4,651.9 คะแนน และบางเขต
   525   526   527   528   529   530   531   532   533   534   535