Page 533 - kpiebook63010
P. 533
532 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
การเลือกตั้งประกาศใช้ก่อน รวมถึงต้องรอประกาศจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจ�ากรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นประกาศการก�าหนดสถานที่ติดเเผ่นป้าย โดยประกาศนี้ได้ออกมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2562 ดังนั้น
พรรคการเมืองที่ติดป้ายหาเสียงไปก่อนหน้านั้นต้องรื้อถอน พรรคการเมืองหลายพรรคได้ติดป้ายหาเสียงไปแล้ว
เช่น ป้ายหาเสียงของหมวดเจี๊ยบ ร.ท.หญิง สุนิสา ทิวากรด�ารง พรรคเพื่อไทย (เขต 8 ลาดพร้าว วังทองหลาง
(ยกเว้นแขวงพลับพลา)) ป้ายหาเสียงของนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคประชาธิปัตย์ (เขต 6 พญาไท ราชเทวี
จตุจักร (เฉพาะแขวงจตุจักรและแขวงจอมพล)) เป็นต้น ส่วนป้ายหาเสียงของนายสิระ เจนจาคะ พรรคพลังประชารัฐ
(เขต 9 หลักสี่ จตุจักร (ยกเว้นแขวงจตุจักรและแขวงจอมพล) ได้ติดตั้งอยู่ในถนนแจ้งวัฒนะเขตหลักสี่ ไม่โดนรื้อ
โดยทางผู้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้เหตุผลว่า การติดป้ายของนายศิระเป็นการติดในบริเวณ
พื้นที่บ้านอาศัยหรือเอกชนไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ กทม.ไม่มีอ�านาจในการด�าเนินการ (เดลินิวส์, 2562ญ)
จากการสัมภาษณ์ผู้สมัครพบว่าทีมงานผู้สมัครแต่ละทีมจะพอมีความเข้าใจอยู่ว่าจะติดป้ายในพื้นที่
ไหนบ้าง ความขัดแย้งในพื้นที่เรื่องการติดป้ายจึงไม่มี
ขบวนหาเสียง ขบวนหาเสียงมีด้วยกันสองชนิด คือขบวนเดินเท้า และ รถแห่ แต่เรื่องส�าคัญของ
ขบวนหาเสียงนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงผ่านการแจกสื่อ (แผ่นพับแผ่นพก) แล้วตัวขบวนหาเสียง
เองก็ยังนับเป็นสื่อด้วย
การเข้าใจขบวนหาเสียงจะต้องเข้าใจโครงสร้างของระบบการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครแต่ละท่าน
ตามกฎหมายระบุว่าผู้สมัครจะมีทีมงานหาเสียงได้ไม่เกิน 20 คน โดยต�าแหน่งผู้ช่วยหาเสียงนั้นจะต้องมีการ
แจ้งชื่อไปยัง กกต. ก่อนที่จะลงพื้นที่ได้
ผู้ช่วยหาเสียงจะมีบทบาทส�าคัญในขบวนเดินเท้าและรถแห่ ผู้สมัครบางคนจะวางผู้ช่วยหาเสียงไว้
ที่ท้ายขบวนโดยไม่ใส่ชุดหาเสียง เพื่อคอยฟังเสียงสะท้อนและปฏิกิริยาของประชาชน
รูปแบบที่ส�าคัญอีกประการหนึ่งของขบวนการหาเสียงใหม่ คือ การปรากฏตัวแบบไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
ในพื้นที่ชุมชนของผู้น�าพรรคที่เป็นที่สนใจของประชาชน เช่น การปรากฏตัวของนายธนาธร หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
ที่พื้นที่สยามสแควร์ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีผลแค่การช่วยหาเสียงกับผู้สมัครในเขต 2 (ปทุมวัน บางรัก สาทร) แต่มีผล
ต่อวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ซึ่งอาจจะไม่ได้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนี้ แต่การปรากฏตัวอาจส่งผลต่อความนิยมของพรรค
ในระดับกรุงเทพมหานคร และ ประเทศเมื่อปรากฏออกสื่อ
รถแห่นั้น มีสองแบบ แบบแรกคือ รถแห่ที่เป็นรถที่มีป้ายโฆษณา และการกระจายเสียง แต่ไม่มี
ตัวผู้สมัครเดินทางไปด้วย กับแบบที่สองคือ รถแห่ที่มีผู้สมัครเดินทางไปหาเสียงด้วย รถแห่ต่างจาก
ขบวนเดินเท้าเพราะเป็นของพรรคต้องมีการเวียนกันใช้ และในกรุงเทพในหลายพื้นที่ไม่ค่อยเป็นที่ตอบรับ
เพราะรถติดเสียงดัง และการเข้าไปหาเสียงในรณรงค์หาเสียงในชุมชนบ้านมีรั้วนั้นต้องขออนุญาต และอาจรบกวน
การพักผ่อนในวันหยุดของผู้พักอาศัย