Page 531 - kpiebook63010
P. 531

530      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             ก็ห่างกันไม่ถึง 200 คะแนน ดังนั้นระบบอุปถัมภ์นั้นก็อาจจะส่งผลที่ท�าให้ผลการเลือกตั้งพลิกผันได้ เพราะคะแนนเสียง

             ที่เชื่อมโยงกับระบบอุปถัมภ์นั้นอาจจะเป็นกลุ่มเป็นก้อนกว่า


                      การอธิบายเช่นนี้ดูจะมีน�้าหนักมากกว่าการอธิบายว่าเขตเลือกตั้งทั้งเขตเป็นเขตที่ระบบอุปถัมภ์นั้น
             คงอยู่หรือแปรสภาพไป โดยปราศจากความเข้าใจระบบที่ซับซ้อนและบทบาทของระบบอุปถัมภ์ที่มีต่อภาพรวม

             ของการเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภายใต้เงื่อนไขกฎกติกาที่มุ่งหมายให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ หากใคร
             ไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิทางการเมือง ซึ่งมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 (มาตรา 68) เรื่อยมาจนถึง รัฐธรรมนูญ

             พ.ศ. 2560 (มาตรา 50 (7))

                      สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือระบบอุปถัมภ์ไม่เท่ากับการใช้เงินซื้อเสียง แต่หมายถึงการมีอิทธิพล

             ต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งอาจจะไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้งโดยตรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนิยามของกฎหมาย

             และนิยามของธรรมเนียมในสังคมนั้น ๆ


                      อาจกล่าวได้ว่าระบบอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานครนั้นมีอยู่ในสามระดับ

                      1. ระบบอุปถัมภ์ในระดับชุมชน: ระบบอุปถัมน์ในระดับชุมชนนั้นอาจมีในสองแบบคือ ระบบอุปถัมภ์

             ในชุมชนดั้งเดิมที่มีโครงสร้างวัฒนธรรมแบบเดิม อาทิ การมีผู้อาวุโสในพื้นที่ หรือ การมีวัดที่เป็นศูนย์กลาง
             กับระบบอุปถัมภ์ในชุมชน ซึ่งอาจจะมีการทับซ้อนกันบางส่วนได้


                      ระบบอุปถัมภ์ในชุมชนนั้นเป็นระบบที่มีความเป็นทางการและลงลึกถึงพื้นที่ กล่าวคือมีโครงสร้าง

             ของคณะกรรมการชุมชนรองรับ (โครงสร้างที่เป็นทางการในกรอบกฎหมาย และ งบประมาณ) และมีหัวหน้า
             คือประธานชุมชน ผู้น�าชุมชนมีหน้าที่ในการรวบรวมความต้องการและต่อรองเอาผลประโยชน์จากภายนอก

             ชุมชนเข้ามาพัฒนาชุมชน


                      อย่างไรก็ตาม ประธานชุมชนนั้นไม่ได้มีอ�านาจและอิทธิพลที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดคนเดียว เพราะว่า
             ยังมีกรรมการชุมชนอีกหลายคน (ในความหมายนี้  หัวคะแนนจึงมีหลายคนได้ในชุมชนหนึ่ง) รวมทั้งยังมี

             ฝ่ายตรงข้าม หรือฝ่ายอื่น ๆ ในพื้นที่ชุมชนอีก เมื่อนักการเมืองติดต่อมายังพื้นที่เขาก็อาจจะติดต่อไปยังผู้น�าคนอื่น ๆ
             ในพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะประธานชุมชน


                      ระบบอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานครไม่ได้มีลักษณะที่รวมศูนย์และเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การให้สัญญาว่า

             จะไปเลือกใครตามที่ให้ไว้กับประธานชุมชนนั้น ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่จะต้องปฏิบัติในแบบที่เคร่งครัดตายตัว
             ในกรณีที่การหาเสียงเป็นไปในระดับที่ไม่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง


                      ในการหาเสียงในชุมชนนั้น จะมีธรรมเนียมว่าผู้สมัครนั้นจะต้องแจ้งแก่ประธานชุมชนเสียก่อนที่จะ
             “ลงชุมชน” ซึ่งหากประธานชุมชนสนับสนุน ประธานชุมชนจะเป็นผู้ที่ “พาเดิน” ไปในชุมชน แต่ถ้าประธานชุมชน

             ไม่ได้สนับสนุน ก็อาจจะเพียงบอกว่า “ไม่พาเดิน” แต่ผู้สมัครนั้นก็อาจจะเดินลงพื้นที่เอง แต่ผู้สมัครหลายคน

             ก็คิดว่าไม่ควรลงไปในพื้นที่/ชุมชน เพราะเท่ากับเป็นสัญลักษณ์ว่าไม่ได้รับการสนับสนุนจากประธานชุมชน
   526   527   528   529   530   531   532   533   534   535   536