Page 526 - kpiebook63010
P. 526

525








                          โดยเงื่อนไขดังกล่าวนี้ ชุมชนจึงมีความเชื่อมโยงกับ “กรุงเทพมหานคร” (กทม.) ที่เป็นหน่วยงานบริหาร

                  ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างใกล้ชิด และในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้นก็ไม่มีก�านันผู้ใหญ่บ้านแล้ว ตามที่ถูกยกเลิก
                  ไปด้วยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยกเลิกต�าแหน่งก�านัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจ�าต�าบล

                  และสารวัตรก�านัน ในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2547


                          ในอีกด้านหนึ่ง การที่ชุมชนนั้นจะได้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงกับเครือข่ายระบบการเมืองในท้องถิ่นด้วย
                  นั่นก็คือ สมาชิกสภาเขต สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และการเมืองในระดับชาติก็คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


                          ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ชุมชนที่มีการจัดตั้งเป็นหน่วยบริหารเช่นนี้มักเป็นชุมชนที่มีฐานะ
                  ทางเศรษฐกิจเปราะบางและต้องพึ่งพาการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองท้องถิ่นสูง แต่ก็ต้องมี

                  ความเข้มแข็งในการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องและยืนยันสิทธิในการการได้มาซึ่งบริการสาธารณะจากรัฐท้องถิ่น

                  แทนที่่จะพึ่งพาบริการจากตลาดโดยตรง (อาทิการใช้บริการจากเอกชน) ดังกรณีที่การจะต้องมีลานกีฬา
                  ของตนเอง การมีบริการฉีดยุงฟรี ฉีดวัคซีนฟรี


                          การจัดตั้งชุมชนจึงเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ที่เป็นทางการและความสัมพันธ์ในระดับสถาบัน
                  ที่ท�าให้การต่อรองระหว่างชุมชนกับรัฐเกิดขึ้นผ่านระบบจัดสรรและให้บริการสาธารณะที่เป็นทางการในพื้นที่


                          ขณะที่การจัดตั้งชุมชนก็ยังเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการและความสัมพันธ์ในระดับ

                  สถาบันที่ท�าให้การต่อรองระหว่างชุมชนกับนักการเมืองในทุกระดับจากท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติเกิดขึ้นผ่าน
                  ระบบจัดสรรและให้บริการสาธารณะที่ไม่เป็นทางการในพื้นที่ เช่นการจัดหาน�้าดื่ม การน�าของขวัญวันปีใหม่

                  วันเด็ก และ วันผู้สูงอายุมาลงในพื้นที่


                          กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเชื่อมโยงระหว่างนักการเมืองกับพื้นที่นั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสถานการณ์
                  ของ “ตัวนักการเมือง” กับ “ชาวบ้าน” เหมือนที่เราเข้าใจโดยทั่วไป แต่หมายถึงการเชื่อมโยงระหว่าง

                  ตัวนักการเมืองกับชาวบ้านในระดับสถาบัน (institutional) ที่ก�าเนิดและมีวิวัฒนาการมาจากกรอบกฎหมาย
                  แต่ก็เปลี่ยนรูป-แปรร่างไปตามเงื่อนไขการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมในแต่ละพื้นที่


                          เมื่อเข้าใจความซับซ้อนของการท�าความเข้าใจในเรื่องชุมชนทั้งในแง่ของแนวคิดหลัก และ การบริหาร

                  กรุงเทพมหานครแล้ว สิ่งที่ต้องท�าความเข้าใจต่อไปก็คือ การท�าความเข้าใจโลกทัศน์และชีวทัศน์ของการเมือง
                  ในการเลือกตั้งกรุงเทพมหานครภายใต้ความเข้าใจของค�าว่า “ชุมชน”


                          โดยทั่วไปในโลกทัศน์และชีวทัศน์ของผู้สมัครเลือกตั้งและทีมผู้สมัครฯนั้น การจ�าแนกพื้นที่จะแบ่ง

                  ออกเป็นพื้นที่ใหญ่ 2 พื้นที่ หรือ ชุมชนใหญ่ 2 แบบ นั่นคือ “ชุมชน” และ “บ้านมีรั้ว” ซึ่งในแต่ละเขตเลือกตั้ง
                  จะมีสัดส่วนไม่เท่ากัน และพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ท�าให้สัดส่วนของพื้นที่สองแบบนี้มีสัดส่วนไม่เท่ากัน


                          ขอย�้าตรงนี้ว่า โดยภาพรวมแล้วค�าว่าชุมชนที่ใช้ในการเมืองกรุงเทพตามหลักวิชานั้นจะต้องหมายถึง

                  ทั้งชุมชนที่มีการจัดตั้งและชุมชนในความหมายทางสังคมวิทยาทั่วไป ค�าว่าชุมชน ในที่นี้คือชุมชนที่มีลักษณะที่มี
   521   522   523   524   525   526   527   528   529   530   531