Page 158 - kpiebook63008
P. 158
158 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
หากพิจารณาจากประเด็นดังกล่าว อาจอธิบายได้ว่าเป็นการครอบงำาภายใต้พัฒนาทางประวัติศาสตร์
ของสังคมไทย ระบบอุปถัมภ์ในสังคมการเมืองในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีจึงเป็นเรื่องยากที่จะปราศจากค่านิยม
ทางสังคมอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในหมู่ประชาชนจำานวนมากก็ตาม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็น
ผลจากการเปลี่ยนผ่านคนจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง การครอบงำาทางความคิดจึงเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมือง
ในบริบทชุมชนท้องถิ่น และแม้กระทั่งชุมชนขนาดใหญ่ในระดับชุมชนเมือง ทั้งนี้ในบริบทของพื้นที่ความสัมพันธ์
แบบอุปถัมภ์ (patronage-client relations) ประกอบด้วย ผู้อุปถัมภ์ (patron) กับผู้รับอุปถัมภ์ (client)
ผู้สมัคร ส.ส.ที่มีบาทบาท อิทธิพลและบารมีทั้งในระดับท้องถิ่นชุมชนในวงกว้างมักดำาเนินกิจกรรมทางการเมือง
ในหลากหลายรูปแบบมายาวนานซึ่งเป็นผลจากการวางแผนหรือแนวทางการหาเสียงล่วงหน้า นำามาสู่การเป็นเครือข่าย
ระหว่างผู้สมัครกับหัวคะแนนเชื่อมไปสู่ประชาชน (ปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2554, หน้า 234-238) การมีอยู่ของเครือข่าย
ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ในพื้นที่เลือกตั้งจังหวัดกาญจนบุรีไม่ใช่
เรื่องแปลกใหม่ หากแต่มีลักษณะที่เป็นพลวัตร มีทั้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการ ควบคุมผสมผสานไป
กับวิธีการและรูปแบบการหาเสียงด้วยการสร้างกลุ่มเครือข่ายหัวคะแนนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้นำาหมู่บ้านหรือ
ตำาบล นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับระบบราชการทั้งในระดับพื้นที่และอำาเภอ ซึ่งแม้มิได้ปรากฏให้เห็นชัดใน
ความสัมพันธ์ดังกล่าว หากแต่มีนัยยะที่สะท้อนให้ถึงความมีอยู่จริงโดยการรับรู้ของคนในพื้นที่
กลุ่มเครือข่ำยกับขบวนกำรกำรเคลื่อนไหวทำงกำรเมือง:
ควำมทันสมัยและพัฒนำกำรทำงกำรเมือง และวัฒนธรรม
ทำงกำรเมืองของประชำชนจังหวัดกำญจนบุรี
กลุ่มเครือข่ายการเมืองและขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนในจังหวัดกาญจนบุรีนับว่า
มีประเด็นที่สนใจและศึกษาหลายประการหากพิจารณาจากประเด็นคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองขนาดเล็ก
และเพิ่งจะมีการจัดตั้งพรรคได้ไม่นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พรรคอนาคตใหม่” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางเมือง
ที่สำาคัญและเกิดขึ้นในทุกจังหวัดของประเทศ ในกรณีพื้นที่เลือกตั้งจังหวัดกาญจนบุรีนั้น กระแสความนิยม
และการสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่นั้นปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ผ่านการพูดคุยของคนในชุมชนหมู่บ้านว่า
หากต้องตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้น การจะเลือกพรรคอนาคตใหม่กับพรรคการเมืองอื่น ๆ นั้นจะมีผล
อย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองในพื้นที่ทั้งในระดับเขตหรือระดับจังหวัด
“พรรคไทยรักษาชาติถูกยุบไปแล้ว จะเลือกพรรคไหนดี เลือกพรรคหรือเลือกคน จะเลือก
พรรคอนาคตใหม่ก็ยังไม่เห็นหน้าค่าตาผู้สมัครฯ เลย ไม่รู้จะท�ายังไง ไว้ใจได้หรือเปล่าว่าจะท�างานได้ดี
หากเปรียบเทียบกับผู้สมัครฯ พรรค.... (ใหญ่) พรรครัฐบาล” (ป้าสาย หนองสาหร่าย, สัมภาษณ์ 2562)
“ช่วยแนะน�าหน่อยจะเลือกพรรคไหนดี ไม่อยากเลือกแบบเดิม ๆ ที่เคยเลือก อยากเปลี่ยน...
เขามีนโยบายพรรคว่ายังไงนะ ดีหรือเปล่า ควรเลือกมากน้อยแค่ไหน.... มาช่วยแนะน�าหน่อย”
(ป้าแดง ห้วยกระเจา, สัมภาษณ์ 2562)