Page 157 - kpiebook63008
P. 157
157
นอกจากนี้แล้วหากพิจารณาจากการเลือกตั้งนับจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้น
มา ผลที่เกิดขึ้นในการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีนับว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจาก
อดีตเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงจากเลือกผู้สมัคร ส.ส. จาก “แบบตัวบุคคล” และ “เครือข่าย
ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์” ไปสู่การตัดสินใจทางการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้น ด้วยการให้ความสำาคัญกับการเลือก
ผู้สมัคร ส.ส. จากผลงาน หรือการทำางานในพื้นที่ เช่น ตำาบล หมู่บ้านและอำาเภอ และการสังกัดพรรคการเมือง
อันเป็นผลจากการนำานโยบายที่ใช้ในการหาเสียงของพรรคไปปฏิบัติ และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในด้านเศรษฐกิจและ
สังคมที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านการรักษาพยาบาล (อดีตกำานันแห่งหนึ่งในพื้นที่อำาเภอห้วยกระเจา, สัมภาษณ์ 2562)
ในการเลือกตั้งปี 2550 และการเลือกตั้งปี 2554 ได้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในความคิด ค่านิยม
และความเชื่อทางการเมืองชัดขึ้นเมื่อผลการเลือกตั้งได้ตอกยำ้าให้เห็นว่า “ตัวบุคคล” อันได้แก่ผู้สมัคร ส.ส. นั้น
มิใช่จะได้รับการสนับสนุนด้วยการลงคะแนนเสียงให้โดยดี แม้ว่าจะมีความรู้จักมักคุ้นกันมานานผ่านบทบาท
ผู้นำาท้องถิ่นในระดับตำาบล หมู่บ้านในอดีตและต่อเนื่องด้วยกิจกรรมที่ผู้สมัคร ส.ส. ดำารงตำาแหน่งเป็น ส.ส.
ในขณะนั้นก็ตาม ผลงานหรือการทำางานในพื้นที่จึงเป็น “หัวใจหลัก” ในความสำาเร็จทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น
ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงมิติด้านความเชื่อ ค่านิยมและความคิดทางการเมืองที่ว่า
ผู้สมัคร ส.ส. ต้องมีอิทธิพลบารมีเป็นสำาคัญ ในระดับที่สามารถเป็นที่พึ่งพา ให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหา
ความเดือดร้อน ดังคำาอธิบายที่น่าสนใจดังนี้
“...ชาวบ้านเปลี่ยนไปมาก ความคิดเปลี่ยน วิธีคิดก็เปลี่ยน ไม่แน่นอนเป็นของตายอีกแล้ว
ใครคิดว่าชาวบ้านไม่เปลี่ยนอะไรเลย ประเภทที่ว่าเลือกเพราะเงิน เพราะหัวคะแนน อันนี้ต้องคิดใหม่
ชาวบ้านเขาฉลาดกว่าเดิม เข้าใจการเมืองว่าเป็นสิทธิ เป็นอ�านาจที่เขาจะตัดสินใจ หากไม่พอใจจริง ๆ
เขาก็ไม่เลือก” (ผู้น�าขบวนการภาคประชาชนในเขตอ�าเภอเมืองกาญจนบุรี, สัมภาษณ์ 2562)
อย่างไรก็ตามภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว ก็มิใช่ว่าจะไม่มีปัจจัยส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง
กับการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอยู่เลย ด้วยลักษณะของชุมชนหมู่บ้าน โดยเฉพาะวิถีชีวิตประจำาวัน
ความจำาเป็นที่ต้องพึ่งพาอาศัยหรือขอความช่วยเหลือจากผู้มีบารมีและอิทธิพลทางการเมืองหรือสังคมยังอยู่
และอาจกล่าวได้ว่ามีปรากฏให้พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง ทั้งการขอความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในการดำาเนินการ
ด้านกิจกรรมสาธารณะ หรือกล่าวอีกนัยก็คือ มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เพื่อ “ประโยชน์ส่วนรวม” เช่น กิจกรรม
ด้านศาสนา วัฒนธรรม และงานด้านสาธารณะอันเกิดจากปัญหาการเกิดความทรุดโทรมหรือเสียหาย โดยเฉพาะ
เส้นทางคมนาคม หรือถนนประจำาหมู่บ้าน ตำาบล อำาเภอ ปัญหาการขาดแคลนแหล่งนำ้า จึงต้องการให้นักการเมือง
ในพื้นที่ให้การช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อดำาเนินการขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
“...มันเป็นความจริง และเป็นความจ�าเป็น เพราะล�าพังผู้น�าหมู่บ้าน ก�านันธรรมดา ๆ
ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงผู้มีอ�านาจในระบบราชการ ในการตัดสินใจด�าเนินการ ให้ค�าแนะน�า
ว่าต้องท�าอย่างไร ระบบงาน เอกสาร วิธีการ ขั้นตอนต่าง ๆ ต้องอาศัยค�าแนะน�าจากผู้เกี่ยวข้อง
(เจ้าหน้าที่รัฐ-ผู้เขียน) จริง ๆ ไม่งั้นเมื่อเราท�าเรื่อง รวมกลุ่มกันท�า มีประชาชนเข้าชื่อจ�านวนมาก
ก็ยังยุ่งยากอยู่ดี ...ก็ต้องเข้าหา เพื่อขอให้ช่วยด�าเนินการ ติดต่อพูดคุยให้ก็ยังดี.....”