Page 155 - kpiebook63008
P. 155

155








                  ในการกระทำากิจกรรมร่วมกันหรือมีส่วนสนับสนุนในกิจการสาธารณะทั้งในระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำาบลและอำาเภอ

                  เหตุผลหรือความเป็นเหตุลดังกล่าวจจึงนำามาสู่พฤติกรรมการเมืองในการตัดสินใจลงคะแนน ซึ่งเป็นการกระทำาที่
                  ต้องการตอบสนองต่อเงื่อนไขที่พอใจ (optimality condition) โดยมีความชอบบางอย่างหรือปรารถนา นำามาสู่

                  การขับเคลื่อนความเป็นเหตุผลของการลงคะแนนหรือไม่ลงคะแนน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารที่
                  ผู้กระทำามีอยู่และมีข้อมูลที่เหมาะสมเท่าที่จะมีได้ โดยมีเป้าหมายความพอใจในการได้รับประโยชน์สูงสุด

                  (John Elster อ้างในไชยยันต์ ไชยพร, 2560, หน้า 88-97) การตัดสินใจของรัฐบาล พรรคการเมือง โดยเฉพาะ
                  พรรคร่วมรัฐบาลในลักษณะดังกล่าว ปรากฏในลักษณะเดียวกับงานศึกษาของพัชรี สิโรรส (2555, หน้า 190-191)

                  เรื่องพลวัตรนโยบายสาธารณะ: จากรัฐ เอกชน สู่ประชาชน ซึ่งได้อธิบายการตัดสินใจปฏิเสธนโยบายการขึ้น
                  ค่าทางด่วนของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ภายใต้การกำากับดูแลของรัฐมนตรีมหาดไทยสองท่าน คือ

                  พลเอกประมาณ อดิเรกสาร และพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ จากพรรคชาติไทยด้วยเสี่ยงต่อฐานเสียงของตนเอง
                  รวมถึงรัฐบาลของนายอานันท์ ปัณยารชุน ซึ่งมาจากการทำารัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณในปี 2534

                  โดยพลเอกอิสรพงศ์ หนุนภักดี ไม่รับคำาขอของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่เสนอให้ขึ้นค่าทางด่วน จนเข้าสู่
                  รัฐบาลอานันท์ฯ สอง พลตำารวจเอกเภา สารสินจึงยินยอมให้ขึ้นค่าทางด่วนแต่ให้ขึ้นเป็น 15 บาทแทนข้อเสนอ

                  ให้ขึ้นเป็น 20 บาทตามข้อตกลงในสัญญา เป้าหมายการรักษาคะแนนนิยมและฐานเสียงจึงเป็นสิ่งสำาคัญและ
                  จำาเป็นต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาลไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่รัฐบาลที่มิได้มาจาการเลือกตั้งแต่อย่างใด


                          นอกจากนี้แล้วความสำาคัญของนโยบายพรรคการเมืองยังชี้ให้เห็นถึงการสื่อสารทางการเมืองเพื่อนำาไปสู่

                  การตัดสินใจของประชาชนในการลงคะแนน นโยบายของพรรคและสิ่งที่นักการเมืองเลือกใช้สำาหรับสื่อสาร
                  กับประชาชนในการลงพื้นที่และดำาเนินการติดตั้งป้ายหาเสียงในแบบเฉพาะที่ กับแบบเคลื่อนที่ รวมถึง

                  สื่อออนไลน์จึงเป็นทั้งกลยุทธ์การหาเสียงและการโฆษณาหาเสียง (political campaign communication)
                  สำาหรับการสร้างการตระหนักรู้ การรับรู้ของประชาชนนำาไปสู่เป้าหมายเพื่อปฏิบัติในอนาคตเมื่อได้รับเลือกตั้ง

                  หรือชนะการเลือกตั้ง (Trent, Judith S., Friedenberg, Robert V., and Denton Jr, Robert E., 2011 และ
                  สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, หน้า 160-161)





                  บทวิเครำะห์กำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทนรำษฎรจังหวัด


                  กำญจนบุรี




                          ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ของจังหวัดกาญจนบุรีนั้น หากนำาแนวคิดและทฤษฎีทางการ

                  เมืองมาใช้ในการอธิบายนั้นมีสิ่งที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการตัดสินใจการเมือง
                  ของประชาชน พฤติกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง และกลุ่มบุคคลผู้เกี่ยวข้อง สำาหรับมิติความทันสมัย

                  การพัฒนาการเมือง และระบบอุปถัมภ์ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ภายใต้ประเด็นนี้ กล่าวได้ว่า
                  กระบวนการทางการเมืองอันประกอบด้วย (1) ความคิดทางการเมือง (political thought) ค่านิยม (value)
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160