Page 159 - kpiebook63008
P. 159
159
คำาพูดที่เป็นประหนึ่งคำาถามนำาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นข้อสงสัยที่มีอยู่ และเป็นสิ่งบ่งชี้หรือสัญญาณ
ทางการเมืองว่า พวกเขาในฐานะประชาชนที่มีอำานาจทางการเมืองผ่านการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง
การเลือก ส.ส. หากเห็นว่า มีตัวเลือกที่ดีกว่า หรืออย่างน้อยที่สุด ตัวเลือกดังกล่าวสามารถเป็นที่พึ่งได้ แม้ว่าจะ
ยังคงไม่มีปรากฏผลการทำางานด้วยการลงพื้นที่ก็ตาม แต่ด้วยกระแสความนิยม และนโยบายที่ถูกนำาเสนอว่าจะ
เปลี่ยนแปลงสังคมดังกล่าว ทำาให้เกิดความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจากกรอบการตัดสินใจแบบเดิม หรือการเลือก
ตัวบุคคลมากว่าจะเลือกพรรคการเมือง
หากพิจารณาภายใต้วัฒนธรรมทางการเมืองและพัฒนาการทางการเมืองในมิติเกี่ยวกับความเข้าใจ
ในแนวคิดประชาธิปไตย และอำานาจทางการเมืองของประชาชนในฐานะผู้อำานาจในการลงคะแนนเสียง
พบว่าพฤติกรรม ความเชื่อ ค่านิยมและวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีในการเลือกตั้ง
มีนาคม 2562 นั้นมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก ประชาชนมิได้มีแนวคิดในลักษณะผู้รับอุปถัมภ์
อีกต่อไป หากแต่มีลักษณะที่เต็มไปด้วยวิถีการต่อรองโดยเฉพาะการต่อรองด้านการนำานโยบายที่ได้หาเสียงมา
ปฏิบัติให้เป็นจริง โดยมีการเปรียบเทียบกับพรรคการเมืองในอดีตที่นำานโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองมา
ปฏิบัติ การอธิบายดังกล่าวได้รับการตอกยำ้าและยำ้าเตือนผู้สมัคร ส.ส. คำาพูดและป้ายโฆษณาหาเสียงเหล่านั้น
เป็นเสมือสัญญาที่ได้ให้ไว้แล้วกับประชาชน ประเด็นดังกล่าวนี้สอดคล้องกับคำาอธิบายของนิธิ เอียวศรีวงษ์
(2560) และสิทธิพันธุ์ พุทธหุน (2555) ซึ่งเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นเป็นผลมาจากความเข้าใจที่มี
ความเป็นการเมืองที่มีมากขึ้นเป็นลำาดับ และปรากฏการณ์เหล่านี้นับเป็นพัฒนาการทางการเมืองจากความทันสมัย
ไปสู่การเมืองที่พัฒนา ด้วยประชาชนมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งในแต่ละครั้ง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยสำาคัญคือการเคลื่อนไหวทางสังคม (social movement) และการพัฒนาเศรษฐกิจ
(economy) ที่ทำาให้ประชาชนในพื้นที่มีการรับรู้ในความสำาคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการเรียนรู้
ดังกล่าวเป็นผลต่อเนื่องจากเศรษฐกิจที่เติบโตและก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำาดับเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตที่ผ่านมา
โดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นกลุ่มเครือข่ายการเมืองที่สนับสนุนและลงคะแนนเสียงให้กับพรรคอนาคตใหม่
นั้นเป็นกลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาวหรือคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพื้นที่ของจังหวัดและรวมถึง
การเมืองระดับชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงพรรครัฐบาล นอกจากนี้แล้วผลคะแนนของผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ 85
ที่ได้รับอันปรากฏภายหลังการเลือกตั้งได้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและความสำาคัญของกลุ่มขบวนการทางสังคม
และการเมืองในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีได้เป็นอย่างดีแม้ว่าจะต้องปะทะ/ต่อสู้ (ทางการเมือง) กับผู้สมัครของ
พรรคพลังประชารัฐที่มีฐานเสียงสนับสนุนและเครือข่ายผู้นำาในระดับอำาเภอ ตำาบล หมู่บ้านซึ่งครอบคลุมเขต
85 ตัวอย่างเช่น เขตเลือกตั้งที่ 1 พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ พรรคพลังประชารัฐ ชนะการเลือกตั้ง รองลงมาคือ วรรษภณ แสงเป้า
พรรคอนาคตใหม่ ลำาดับที่ 3 อาศุชิน เป้าอารีย์ พรรคประชาธิปัตย์ และลำาดับที่ 4 เศรษฐวิชช์ อัครกิจวราสกุล พรรคเสรีรวมไทย
(คะแนน 37,996; 24,367; 14,687 และ 5,034 ตามลำาดับ) เขตเลือกตั้งที่ 5 อัฎฐพล โพธิพิพิธ พรรคพลังประชารัฐ ชนะการเลือกตั้ง
ลำาดับที่สอง ไสว บัวบาน พรรคอนาคตใหม่ ลำาดับที่สาม สุรพงษ์ ตันธนศรีกุล พรรคประชาธิปัตย์ (20,414; 10,355 และ
7,826 ตามลำาดับ) และเขตเลือกตั้งที่ 4 ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ พรรคพลังประชารัฐ ชนะเลือกตั้ง รองลงมาได้แก่ พลโททำานุ โพธิ์งาม
พรรคประชาธิปัตย์ และยศพันธ์ เหลือสดใส พรรคอนาคตใหม่ (คะแนน 29,034; 21,176 และ 20,792 ตามลำาดับ)