Page 156 - kpiebook63008
P. 156
156 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
ความเชื่อ (belief) (2) วัฒนธรรมทางการเมือง (political culture) และ (3) ระบบอุปถัมภ์ของประชาชน
รวมถึงนักการเมือง และพรรคการเมืองนั้นมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก แม้ว่าในประเด็นว่าด้วยวัฒนธรรม
การเมืองอาจมีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าประเด็นอื่น ๆ ก็ตาม กล่าวคือ ในมิติความคิดทางการเมือง ค่านิยม
และความเชื่อทางการเมืองนั้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ที่ปรากฏและดำาเนินอยู่
อย่างต่อเนื่องผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และโดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย (social media)
การตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจึงเป็นผลมาจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ดังกล่าวอย่างมีนัยสำาคัญ
และตัวนักการเมืองผู้ลงสู่สนามเลือกตั้งในครั้งนี้ยอมรับถึงความสำาคัญด้วยการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นหนึ่งใน
เครื่องมือและกลยุทธ์ในการสื่อสารถึงประชาชน พร้อม ๆ กับการรับฟังข้อมูลที่สะท้อนกลับ (feedback) ผ่าน
สื่อดังกล่าว ประกอบด้วย ยูทูบ (You tube), เฟซบุ๊ค (Facebook) และไลน์ (line) ซึ่งสื่อโซเชียลมีเดียเหล่านี้
มีบทบาทสำาคัญในการสื่อสารระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทีมงาน พรรคการเมือง และหัวคะแนนในการประเมินผล
หรือคาดการณ์ผลการรับรู้/รับจากการลงพื้นที่หาเสียงเป็นระยะโดยเฉพาะการเข้าชมและติดตามการหาเสียง
การลงพื้นที่ของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองและพรรคการเมืองแต่ละคน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าโซเชียลมีเดียจะเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่สามารถกระจายข้อมูลข่าวสาร
ให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง และพรรคการเมืองที่ได้นำาเสนอนโยบายและแนวทางในการ
พัฒนาประเทศรวมถึงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี แต่กระนั้นประชาชนในพื้นที่ก็มิได้ให้ความสนใจต่อผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้งทุกคนและทุกพรรคการเมือง โดยพบว่าในความเป็นจริงแล้วประชาชนในแต่ละพื้นที่ก็จะเลือกติดตาม
การหาเสียง การปราศรัยและการลงพื้นที่ผู้สมัครเฉพาะที่ตนเองสนใจและให้ความสำาคัญมากกว่า สิ่งที่น่าสนใจก็คือ
การเลือกติดตามผู้สมัครและพรรคการเมืองผ่านสื่อโซเชียลมีเดียนั้นเป็นผลมาจากกระแสความนิยมที่มีต่อ
พรรคการเมืองและตัวผู้สมัครมากกว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ
“ก็รู้แต่ว่า ....หาเสียงลงภาพข่าว ลงวิดีโอ ดูได้จากมือถือ คอมพิวเตอร์ แต่ก็ดูเฉพาะบางคน
บางพรรคเท่านั้นแหละ จะให้ติดตามทุกพรรค ทุกคน (ผู้สมัคร) คงไม่ไหว ทุกคนลงข่าวแบบนั้นเหมือน
กัน ก็จะเลือกติดตาม เลือกดูว่ามีอะไรน่าสนใจไหม ที่ดูๆ ติดตามก็เฉพาะผู้สมัครจากพรรคใหญ่ ๆ
ผู้สมัครก็ลงพื้นที่มานาน คุ้นเคยด้วย เจอ ๆ บ่อย ๆ ตามงาน (งานบวช งานบุญ งานแต่ง งานวัด ฯลฯ)
คนอื่น ๆ บางทีไม่น่าสนใจ พรรคอะไรก็ไม่รู้ ท�าอะไรมีผลงานอะไรมาบ้าง คนเป็นหัวหน้าพรรคเป็น
ใครยังไม่รู้เลย จะน่าสนใจ น่าติดตามได้ยังไง บางทีที่ดู ๆ ที่ติดตามพรรคใหม่ ๆ นี่ก็เพราะเขาโดดเด่น
น่าสนใจนโยบายที่หาเสียง....”
จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าสื่อโซเชียลมีเดียจะมีบทบาทและมีความสำาคัญในการหาเสียงของ
นักการเมืองและพรรคการเมืองในการทำาความเข้าใจกับประชาชนถึงนโยบายที่นำาเสนอ ความสำาคัญของตัวผู้สมัคร
ที่พรรคนำาเสนอ หากแต่สื่อโซเชียลมีเดียก็มิได้มีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยด้านตัวผู้สมัครและพรรคการเมืองดังปรากฏ
ในผลการเลือกตั้ง 24 มีนาคม แต่กระนั้นก็ถือได้ว่าสื่อโซเชียลมีเดียได้มีอิทธิพลในการสื่อสารการเมืองระหว่าง
นักการเมือง พรรคการเมืองกับประชาชนมากขึ้นเป็นลำาดับ ถือเป็นพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ที่สำาคัญที่มิอาจละเลยหรือมองข้ามความสำาคัญแต่ประการใด