Page 160 - kpiebook63008
P. 160

160      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี





             เลือกตั้งในแต่ละเขตอย่างกว้างขวางก็ตาม รวมถึงผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทยที่ล้วนแล้วแต่

             มีภูมิหลังทางการเมืองทั้งจากการเคยเป็นอดีต ส.ส. และอดีตผู้นำา/ผู้บริหาร/สมาชิกองค์กรปกครองท้องถิ่น
             โดยมีกลุ่มเครือข่ายสนับสนุนที่กว้างขวางเช่นเดียวกันกับผู้สมัครฯ จากพรรคพลังประชารัฐ ทั้งนี้ก็ด้วยการมีเป้าหมาย

             หรือความต้องการที่อยากจะมีทางเลือกใหม่เพื่อนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมโดยสอดคล้องคล้องกับคำา
             อธิบายของไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2545) และพฤทธิสาณ ชุมพล (2550) ที่เห็นว่ากลุ่มเครือข่ายการเมืองนั้น

             มีความสำาคัญและเติบโตมากขึ้นเป็นลำาดับในสังคมต่าง ๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองและสังคม มีพลัง
             ในการต่อต้าน คัดค้านและผลักดัน เป็นการต่อสู้/เคลื่อนไหวภายใต้แนวคิดประชาธิปไตยในฐานะพลเมือง

             (citizenship) แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบของกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีที่ปรากฏในการมีบทบาท
             ทางการเมืองเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองอย่างพรรคอนาคตใหม่นั้นก็อาจมิได้เป็นไปตามคำาอธิบายของ

             พฤทธิสาณทั้งหมด ซึ่งกลุ่มเครือข่ายทางการเมืองรูปแบบใหม่นั้นจะมีเป้าหมายเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการ
             เปลี่ยนค่านิยมและพัฒนาชีวิตแบบทางเลือก และเปลี่ยนวิธีคิดที่มองว่าการเปลี่ยนแปลงต้องกระทำาผ่านระบบ

             การเมือง-การกระทำาทางการเมืองไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมโดยเน้นสัญลักษณ์การมีตัวตนและพยายาม
             ถอยห่างจากการเมือง





             บทสรุปรูปแบบและวิธีกำรหำเสียงในกำรเลือกตั้ง 24 มีนำคม จังหวัดกำญจนบุรี



                      โดยสรุปแล้วลักษณะและรูปแบบตลอดจนวิธีการหาเสียงของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
             สามารถแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ/รูปแบบหลัก ประกอบด้วย การปราศรัยใหญ่และการเปิดตัวผู้สมัคร

             การใช้รถขยายเสียง การใช้โปสเตอร์ ป้ายแนะน�าตัวผู้สมัคร นโยบายของพรรคการเมือง (ป้ายคัตเอ้าต์) นามบัตร
             และแผ่นผับ การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย การใช้หัวคะแนน


                      ประการที่หนึ่ง การปราศรัยใหญ่และการเปิดตัวผู้สมัครฯ รูปแบบดังกล่าวนี้ถือเป็นเสมือนการเปิดตัว

             พรรคการเมืองในพื้นที่จังหวัด และการแสดงการสนับสนุนตัวผู้สมัครฯ อย่างเป็นทางการ เป็นสถานที่/เวทีสำาหรับ
             การประกาศนโยบาย ผลงานของพรรค จุดแข็ง จุดเด่นและข้อดี เป้าหมายทางการเมือง ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม
             และการเมืองที่ประชาชนกำาลังประสบ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขและพัฒนาภายใต้ศักยภาพและขีดความ

             สามารถของพรรค รวมถึงผู้สมัครฯ นอกจากนี้แล้วยังเป็นการสร้างขวัญและกำาลังใจให้กับผู้สมัครได้มีความมั่นใจ

             ในการดำาเนินกิจกรรมหาเสียง รวมถึงความมั่นใจและความไว้วางใจที่นำามาสู่กำาลังใจของบรรดากลุ่มผู้สนับสนุน
             หัวคะแนน และประชาชนที่ชื่นชอบและศรัทธาต่อพรรครวมถึงผู้สมัครอีกด้วย


                      ประการที่สอง การใช้รถขยายเสียง เป็นกลยุทธ์การหาเสียงของผู้สมัครฯ ในจังหวัดกาญจนบุรีที่
             สำาคัญ และโดยรวมแล้วจะมุ่งเน้น “การเข้าถึงตัวประชาชน” หรือ “การเข้าถึงชาวบ้าน” รูปแบบที่ใช้เริ่มจาก

             การใช้รถขยายเสียงประกาศ/ประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้พรรคการเมืองขนาดใหญ่จะใช้จำานวนรถหลายคันเป็นขบวน
             แต่พรรคขนาดเล็กจะมีจำานวนรถที่ใช้หาเสียงน้อยกว่า การหาเสียงจะเคลื่อนที่ไปตามชุมชนขนาดใหญ่โดยเฉพาะ

             พื้นที่ใจกลางชุมชน เป้าหมายแรกมักเป็นพื้นที่ตั้งตลาดสินค้าและตลาดสดเพราะมีผู้คนเข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าอุปโภค
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165