Page 165 - kpiebook63008
P. 165
165
บทวิเครำะห์ว่ำด้วยระบบกำรเลือกตั้ง “จัดสรรปันส่วนผสม”
กับกำรปรับตัวและกลยุทธ์ทำงกำรเมืองในกำรเลือกตั้งจังหวัด
กำญจนบุรี
สำาหรับการส่งผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี มีจำานวนรวมทั้งสิ้น
34 พรรคการเมือง โดยพรรคที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ครบทุกเขต (5 เขต) มี 17 พรรค ขณะที่ส่งผู้สมัครฯ 4 เขต
มีจำานวน 4 พรรค พรรคที่ส่ง 3 เขต มีจำานวน 2 พรรค พรรคที่ส่ง 2 เขต มีจำานวน 6 พรรค และพรรคที่ส่งผู้สมัคร
เพียงเขตเดียว มีจำานวน 5 พรรค ดังแสดงในตาราง 5.2
หากพิจารณาจากจำานวนพรรคที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. การที่มีพรรคถึง 17 พรรคการเมืองส่งผู้สมัครครบทั้ง
5 เขตเลือกตั้งย่อมแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายทางการเมืองที่แต่ละพรรคการเมืองได้ทำาการศึกษาและวิเคราะห์ผล
จากรูปแบบและระบบการเลือกตั้งที่ออกแบบมาใหม่หลังการทำารัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อย
แห่งชาติ (คสช.) ซึ่งต่อมาได้มีการยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมีเป้าหมายสำาคัญคือการ
สร้างระบบหลายพรรคการเมืองให้กับการเมืองไทย ทั้งนี้ด้วยผลของการออกแบบระบบการเลือกตั้งที่เรียกว่า
“ระบบแบ่งสรรปันส่วนผสม” กล่าวคือ แบ่งออกเป็นระบบการเลือก ส.ส. เขต ในรูปแบบเขตเดียวเบอร์เดียว
86
และบัตรเดียว ขณะเดียวกันก็กำาหนดให้นำาคะแนนที่ประชาชนลงคะแนนไปคิดจำานวน ส.ส. ที่พึงมีของแต่ละ
พรรคการเมือง แล้วจึงคำานวณสัดส่วน ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่ได้จัดทำาและยื่นไว้ต่อคณะ
กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันสมัครรับเลือกตั้ง รูปแบบการคิดคะแนนและจำานวน ส.ส.ดังกล่าวจึงมีผลต่อ
จำานวน ส.ส.ของพรรคและระบบพรรคการเมืองอันแตกต่างจากรูปแบบและระบบการเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา
ของประเทศโดยสิ้นเชิง พรรคการขนาดใหญ่แต่ละพรรคจึงพยายามที่จะหาทางออกเพื่อรองรับหลักการและ
แนวคิดของระบบการคิดคะแนนและจำานวน ส.ส. ที่พึงมีดังกล่าว นำาไปสู่การใช้กลยุทธ์การแยกตัวก่อตั้ง/จัดตั้ง
พรรคการเมืองใหม่ของกลุ่มตนเอง และสร้างเครือข่ายของระบบพรรคการเมืองขนาดเล็ก ด้วยทุกคะแนนเสียง
ของประชาชนที่ลงให้กับ ส.ส. หรือพรรคการเมืองนั้นมีผลต่อจำานวน ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อเป็นอย่างมาก
นั่นเอง (ดูตาราง 5.3 ประกอบ)
86 ระบบและรูปแบบการเลือกตั้งโดยเฉพาะการคิดจำานวน ส.ส.ที่พึงมีดังกล่าวนำามาสู่ข้อโต้แย้งและข้อถกเถียงจำานวนมากของ
สังคมทั้งในกลุ่มนักวิชาการ พรรคการเมืองและประชาชนจำานวนมาก หากแต่ กกต. และคณะผู้ร่างกฎหมายเลือกตั้งดังกล่าว
รวมถึงกลุ่มผู้สนับสนุนให้ความเห็นว่า เป็นระบบที่เหมาะสมและช่วยรักษาอำานาจทางการเมืองของประชาชน โดยอธิบายว่าจะ
ทำาให้ทุกคะแนนเสียงของประชาชนนั้นไม่ตกนำ้าหรือไม่สูญเปล่า เหมือนกับที่ปรากฏในระบบการเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา