Page 170 - kpiebook63008
P. 170
170 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
บทบำทควำมส�ำคัญและควำมเป็นสถำบันของพรรคกำรเมือง:
ผลต่อกำรเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกำญจนบุรี
ต่อประเด็นดังกล่าวนี้ หากพิจารณาจากหลักการว่าด้วยความเป็นสถาบันทางการเมือง (political
institutionalization) นั้นความเป็นสถาบันทางการเมืองพรรคการเมืองย่อมสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการและ
ระบบของพรรคการเมืองทั้งในด้านการเป็นที่รวมของคนหรือกลุ่มบุคคลที่มีค่านิยม ความคิดความเชื่อ อุดมการณ์
รวมถึงเป้าหมายทางการเมืองในลักษณะเดียวกันหรือเป็นไปในทางเดียวกันจนนำามาสู่การร่วมมือ/รวมพลังในการ
ทำางานการเมือง นอกจากนี้ยังรวมถึงเป้าหมายในผลประโยชน์หรือความต้องการทางการเมือง นำามาสู่การผลิต/
สร้างนโยบาย การคัดสรรหรือเลือกสรรบุคคลที่จะบริหารจัดการพรรคการเมือง คัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นตัวแทน
พรรคในการลงสมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นพรรคที่มีความเป็นสถาบันทางการเมืองสูง
จึงต้องมีองค์ประกอบดังกล่าวเป็นพื้นฐาน ทั้งนี้หากพิจารณาจากเงื่อนไขและเหตุผล รวมถึงสถานการณ์ทางการเมือง
ที่เกิดขึ้นภายหลังการยึดอำานาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฯ (คสช.) ซึ่งทำาให้พรรคการเมือง รวมถึง
องค์กร/สถาบันที่ทำาหน้าที่ในการกำากับดูแลพรรคการเมืองอย่างสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้อง
สะดุด/หรือไม่อาจดำาเนินการได้เหมือนกับสภาวะปกติ ในแง่นี้พรรคการเมืองจึงประสบปัญหาการขาดความต่อเนื่อง
ของการพัฒนาไปสู่ความเป็นสถาบันฯ อย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฯ
ยกเลิกกฎหมาย/คำาสั่งห้ามการทำากิจกรรมและประกาศให้พรรคการเมืองดำาเนินกิจกรรมได้ แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ
พรรคการเมืองต่าง ๆ ทั้งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกกับพรรคการเมืองที่ได้รับ
การจัดตั้งมาก่อนแล้ว ได้มีความพยายามในการจะพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำางานของพรรคการเมืองให้ได้รับ
การยอมรับของสมาชิกพรรคและประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความพร้อมมากที่สุดในการเข้าสู่ช่วงเวลาของ
การเลือกตั้ง ลักษณะและรูปแบบที่ปรากฏในสิ่งที่พรรคการเมืองดำาเนินการนั้นแม้ว่าจะมีความพยายามไปสู่
การเป็นสถาบันพรรคการเมือง ทั้งจาก (1) การดำาเนินการสรรหาผู้สมัคร ส.ส. ภายใต้ข้อกำาหนดของคณะกรรมการ
การเลือกตั้งหรือ กกต. ซึ่งกำาหนดให้พรรคการเมืองต้องดำาเนินการสรรหา/คัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคโดย
การทำาไพรมารีโหวต (primary vote) หรือระบบการเลือกตั้งขั้นต้น (primary election) และนำาไปสู่การลงสมัคร
ส.ส.ในพื้นที่เขตเลือกตั้ง (2) ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือก ส.ส. ในขั้นตอนสุดท้าย ทั้งนี้ประเทศที่ได้รับ
การกล่าวถึงในการใช้ระบบดังกล่าวนี้คือสหรัฐอเมริกา แนวคิดและหลักการดังกล่าวมาจากความพยายาม
แก้ไขปัญหากระบวนการคัดเลือกผู้สมัครของพรรคที่อยู่ภายใต้การควบคุมและดำาเนินการของบุคคลที่มีอำานาจ
ของพรรคที่มีการตกลงกันทางลับทำาให้ขาดความโปร่งใสหรือขาดความชอบธรรมนำามาสู่ความขัดแย้งในพรรค
มีผลต่อการพัฒนาของพรรคและส่งผลต่อระบบการเมืองโดยรวม (อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า, 2560, หน้า 1-2)
ทั้งนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 กำาหนดกระบวนการสรรหา
ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคด้วยวัตถุประสงค์ต้องการให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในกระบวนการกำาหนดนโยบาย
และการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคโดยไม่ถูกครอบงำา/ชี้นำาโดยบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกพรรคและเพื่อกำากับ
ดูแลมิให้สมาชิกพรรคการเมืองทำาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้ง โดยหลักเกณฑ์การส่งผู้สมัคร