Page 167 - kpiebook63008
P. 167
167
ล�ำดับ พรรค จ�ำนวนผู้สมัคร ส.ส. จ�ำนวนเขตเลือกตั้งที่ส่ง
28 พลังสังคม 2 เขต 1 และ 3
29 พลังประชาธิปไตย 2 เฉพาะเขต 3 และ 5
30 แผ่นดินธรรม 1 เฉพาะเขต 1
31 พลเมืองไทย 1 เฉพาะเขต 2
32 ประชาไทย 1 เฉพาะเขต 4
33 ประชาธรรมไทย 1 เฉพาะเขต 4
34 ถิ่นกาขาวชาววิไล 1 เฉพาะเขต 4
การมีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จำานวนมากในแต่ละเขตเลือกตั้งดังกล่าวส่งผลต่อทั้งพรรคการเมือง ผู้สมัคร
ส.ส. และประชาชนในพื้นที่ แม้จะดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมีตัวเลือกที่มากทั้งในแง่นโยบาย
ของพรรคการเมือง และการเสนอแนวทางการทำางานของตัวผู้สมัครฯ หากชนะการเลือกตั้ง อันเป็นเสมือน
สัญญาประชาคมที่ให้ไว้ต่อประชาชนในพื้นที่เลือกตั้งก็ตาม โดยจำานวนผู้ลงรับสมัครฯ ที่มากดังกล่าวได้ทำาให้
มีการแข่งขันหาเสียงด้วยรูปแบบและวิธีการในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านที่หลากหลาย เกิดระบบการสร้างกลุ่มหัวคะแนน
ที่ทับซ้อนและมีแนวโน้มจะสร้างความขัดแย้งของคนในพื้นที่ค่อนข้างมาก เพราะผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ แต่ละคน
ย่อมมีกลุ่มเครือข่ายผู้สนับสนุนของตนทั้งสิ้น การยื้อแย่งแข่งขันหัวคะแนนและพวกพ้องจึงเกิดขึ้นและนำามาสู่
ความไม่ไว้วางใจของกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ นอกจากนี้แล้วด้วยระดับการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงและมีระบบ
การคำานวณ ส.ส.ใหม่ รวมถึงข้อกำาหนดและเงื่อนไขการหาเสียงทำาให้ประชาชนมีความสับสนเพราะมีความยุ่งยาก
ต่อการทำาความเข้าใจได้ทั้งหมด (ดูตาราง 5.3 ประกอบ)
ทั้งนี้ข้อมูลปัญหาและอุปสรรคอันเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีดังกล่าวสอดคล้อง
และเป็นไปในทิศทางเดียวกับรายงานผลการศึกษาของปริญญา เทวานฤมิตรกุล เรื่อง “ปัญหาระบบเลือกตั้งตาม
รัฐธรรมนูญ 2560 และปัญหาการจัดการเลือกตั้ง: ศึกษาจากการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562” โดยความร่วมมือ
ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พบปัญหาสำาคัญ ประกอบด้วย
(โพสต์ทูเดย์ออนไลน์, 2562)
ประการแรก ปัญหาของระบบเลือกตั้ง เกิดปัญหา 7 ประการ ได้แก่ (1) ปัญหาความยุ่งยาก
ในการคำานวณจำานวน ส.ส. เป็นผลจากการกำาหนดให้มีเพียงคะแนนเดียว ทำาให้การคำานวณจำานวน ส.ส.
ในแต่ละพรรคที่ควรได้รับและจำานวน ส.ส. บัญชีรายชื่อมีความซับซ้อน/ยุ่งยากมากกว่าระบบการเลือกตั้ง
แบบใช้บัตร 2 ใบ (2) ประชาชนไม่สามารถเลือกผู้สมัครแบบเบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อที่แตกต่าง
ระหว่างกันได้ จากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างพบว่าร้อยละ 35.08 ไม่มีปัญหา ด้วยมีผู้สมัครอยู่ในพรรคที่ตนเองสนับสนุน
หรือพรรคส่งผู้สมัครที่ตนชื่นชอบแล้ว แต่มีผู้ที่ต้องตัดสินใจเลือกอย่างใดมากถึงร้อยละ 64.9 ชี้ให้เห็นถึง
ความมีอยู่จริงของปัญหาดังกล่าว และพบว่าประชาชนตัดสินใจเลือกจากนโยบายของพรรคร้อยละ 42.1 และ
เลือกเพราะผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อร้อยละ 10.36 ขณะที่เลือกจากอยากเลือกว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรค