Page 169 - kpiebook63008
P. 169

169








                  ทั้งจากการทำางานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้วยไม่มีสำานวนที่มาจากผู้ตรวจการเลือกตั้ง (2) การเลือกตั้งครั้งนี้

                  ไม่มีประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง มีผลทำาให้ กกต.ขาดภาคประชาชนช่วยดูแลการเลือกตั้ง
                  ปัญหาจึงเกิดขึ้นมาและความเชื่อถือลดลง และ (3) ผู้สังเกตการณ์ประจำาหน่วยเลือกตั้งจากพรรคการเมือง

                  ในการเลือกตั้งมีน้อยมาก จากกรณีการให้คิดค่าตอบแทนเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองไม่ใช่ของผู้สมัคร


                          ประการที่สี่ ปัญหาการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จากผลการสุ่มตัวอย่าง
                  พบว่าประชาชน ร้อยละ 84.76 ทราบเรื่องบัตรเลือกตั้งใบเดียว แต่มีผู้เข้าใจดีเพียงร้อยละ 14.26 พอเข้าใจ

                  ร้อยละ 60.71 เข้าใจน้อยและไม่เข้าใจเลย ร้อยละ 25.03 และความรู้เรื่องระบบเลือกตั้ง พบว่าร้อยละ 47.76
                  ตอบไม่แน่ใจ และมีผู้ตอบผิด ร้อยละ 24.9 ขณะที่มีตอบถูกเพียง ร้อยละ 23.66


                          ในมิติเชิงพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี แม้ว่าประชาชนโดยทั่วไปจะยอมรับในกฎเกณฑ์และเงื่อนไขของ

                  ระบบเลือกตั้ง หากแต่ในความเป็นจริงความคลางแคลงใจที่มีระบบการเลือกตั้งนั้นมีไม่น้อยเช่นเดียวกัน ด้วยมีผล
                  ต่อการตัดสินใจว่าจะเลือกอย่างใดระหว่างการเลือกตัวผู้สมัคร ส.ส. กับการเลือกนโยบายของพรรค รวมถึงบุคคล
                  ที่ตนเองปรารถนาจะให้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี ความยุ่งยากลำาบากในการตัดสินใจดังกล่าวเป็นผลมาจาก

                  การมีบัตรลงคะแนนเพียงใบเดียว และทำาให้มีความรู้สึกว่าตนเองนั้นถูกบังคับให้ต้องตัดสินใจโดยไม่มีทางเลือก

                  มากนัก และหากต้องตัดสินใจภายใต้ระบบสังคมและชุมชนของตนเองที่มีความผูกผันใกล้ชิดกับนักการเมือง
                  ที่เป็นผู้สมัคร ส.ส. ที่มีความคุ้นเคยผ่านการทำางานร่วมกันในพื้นที่มาอย่างยาวนาน สิ่งดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ถึง
                  โครงสร้างสังคมไทยในระดับพื้นที่ที่ปรากฏให้เห็นทั่วไป (กฤษณา ไวสำารวจ, 2555, หน้า 21-29 และวอล์คเกอร์,

                  2559, หน้า 12-34) ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดำารงอยู่มานาน

                  และมักได้รับการอธิบายว่า เป็นลักษณะการผสมผสานในวัฒนธรรมทางการเมืองระหว่างวัฒนธรรมทางการเมือง
                  แบบไพร่ฟ้า (subject political culture) และวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (participation political
                  culture) วัฒนธรรมทางการเมืองประเภทหลังนี้เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง (civic culture) ซึ่งมี

                  ความสำาคัญเป็นอย่างมากในสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตย (Almond & Verba, 1965, pp.16-18, 337-374

                  และสิทธิพันธุ์ พุทธหุน, 2551, หน้า 189-193) โดยที่ความสนใจติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมือง รูปแบบ/
                  วิธีการหาเสียง การวิพากวิจารณ์นโยบาย การทำางานของพรรคการเมืองและผู้สมัคร ส.ส./นักการเมือง ทั้งใน
                  ระดับกลุ่มย่อยและใหญ่ในพื้นที่ระดับชุมชนหมู่บ้านของประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรีนั้นนับว่ามีการพัฒนาการ

                  ที่เรียกว่าได้ว่ามีความตื่นตัว มีการรับรู้และตระหนักในความสำาคัญของการเลือกตั้ง การมุ่งมั่นที่จะไปลงคะแนน

                  เสียงในวันเลือกตั้งนั้นมีอยู่ในระดับสูง  ปรากฏการณ์และพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนดังกล่าว
                                                  89
                  จึงถือได้ว่าอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การมีวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งต้องใช้เวลา
                  ในการเปลี่ยนแปลง เพราะภายใต้สถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองดังกล่าว ได้เกิดการปะทะ/

                  โต้แย้งและถกเถียงทั้งภายในระดับตัวบุคคลและสังคมว่า ระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวมกับผลประโยชน์ส่วนบุคคล

                  หรือกลุ่ม อะไรคือสิ่งที่ต้องตัดสินใจก่อนหลังหรือควรยึดถือเป็นหลัก




                  89 ดูเพิ่มเติมใน Paul Douglass and Alice McMahon, How to Be and Active Citizen (Gainesville, Fla., 1960).
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174