Page 171 - kpiebook63008
P. 171
171
ส.ส.ต้องดำาเนินการ (1) พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือ
90
ตัวแทนพรรคการเมืองประจำาจังหวัดนั้น (2) การส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้พรรคการเมืองจัดทำาบัญชี
รายชื่อเพื่อส่งให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำาจังหวัด ให้คำานึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้ง
91
จากภูมิภาคต่าง ๆ และมีความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงด้วย (3) ในการเลือกตั้งทั่วไป การส่งผู้สมัคร
ส.ส.แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ ต้องดำาเนินการสรรหาตามวิธีการกฎหมายพรรคการเมืองโดยเฉพาะมาตรา
47, 48, 49, 50, 51, 52, 53,54, 55, 56 และ 57 (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ศ.2560, หน้า 15-19 และอริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า, 2560, หน้า 6)
แม้ว่าเป้าหมายการนำาระบบไพรมารีโหวตมาใช้เพื่อพัฒนาการเมืองไทยทั้งเพื่อการส่งเสริมการมี
ส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริงของประชาชนและการให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มากขึ้นใน
การสรรหา/คัดเลือกผู้สมัครอันเป็นเป้าหมายในการได้มาซึ่งผู้แทน/ตัวแทน/นักการเมืองที่มีคุณภาพแต่เมื่อ
พิจารณาจากเงื่อนไขเวลาและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แล้วย่อมเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาพรรคการเมือง
ไปสู่ความเป็นสถาบันทางการเมืองที่แท้จริง กล่าวโดยสรุปได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้นั้นพรรคการเมืองไทย
โดยส่วนใหญ่ยังอยู่ช่วงเริ่มต้นเพื่อพัฒนาความเป็นสถาบันทางเมืองแม้ว่าจะมีพรรคการเมืองที่มีประวัติ
ความเป็นมานับจากการก่อตั้งที่ยาวนานอย่างพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม หรือกล่าวได้ว่าพรรคการเมือง
ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 มีลักษณะที่เป็นพรรคการเมืองที่ทันสมัย (political modernization)
มากกว่าที่จะเข้าสู่การเป็นสถาบันการเมือง (political institutionalization) กล่าวคือแม้ว่าจะมีโครงสร้าง
ที่ประกอบด้วยส่วนงานที่รับผิดชอบของพรรคเป็นหน่วยย่อย ๆ และกระจายไปตามพื้นที่ระดับเขตจังหวัด
หรือแม้กระทั่งเขตเลือกตั้งในระดับอำาเภอ แต่กระบวนการในการดำาเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ ที่แม้จะได้รับ
การกำาหนดไว้ที่ชัดเจน แต่กระนั้นในทางปฏิบัติก็ยังไม่มีคุณภาพมากนักโดยเฉพาะข้อเท็จจริงในระดับพื้นที่/
เขตเลือกตั้ง
เมื่อพิจารณาถึงบทบาทและความเป็นสถาบันการเมือง ของพรรคการเมืองจึงยังคงไม่อาจกล่าวได้ว่า
92
มีผลต่อการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีมากเท่าใดนัก โดยสิ่งที่ปรากฏนั้นพบว่าพรรคการเมืองที่ได้รับ
90 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 47 วรรค 1, 2
91 ในหลักเกณฑ์ยังกำาหนดให้คณะกรรมการสามารถกำาหนดอัตราส่วนขั้นตำ่าของผู้สมัครชายหญิงที่พรรคการเมืองต้องส่งรับ
เลือกตั้งด้วยได้ โดยการคำานึงถึงสัดส่วนชายหญิงดังกล่าวหากพรรคการเมืองไม่อาจส่งผู้สมัครตามอัตราส่วนได้ให้แจ้งเหตุผลให้
ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปก่อนวันรับสมัครเลือกตั้ง (มาตรา 48 วรรค 1, 2)
92. ความเป็นสถาบัน (ทางการเมือง) เป็นกระบวนการที่ทำาให้การดำาเนินการทางสังคมมีลักษณะเป็นทางการและมีมาตรฐาน
เพื่อช่วยในการรักษาค่านิยมของสังคมและช่วยสร้างกระบวนการเพื่อการควบคุมสังคม ทั้งนี้ Samuel P. Huntington อธิบาย
ว่าความเป็นสถาบันคือกระบวนการซึ่งองค์กรและกระบวนการต่าง ๆ ใช้เพื่อให้มาซึ่งคุณค่าและเสถียรภาพ ความเป็นสถาบัน
จึงเป็นกระบวนการพัฒนาองค์กรหรือกระบวนการที่องค์กรใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับ
ความชอบธรรมและความมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ระดับความเป็นสถาบันจะสูงหรือตำ่า (level of institutionalization) ประกอบด้วย
ความสามารถในการปรับตัว (adaptation) ความซับซ้อน (complexity) ความเป็นอิสระ (autonomy) และความเป็นปึกแผ่น
(coherence); ดูเพิ่มเติมในสิทธิพันธุ์ พุทธหุน, 2545, หน้า 183-188.