Page 176 - kpiebook63008
P. 176

176      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             ดังกล่าวทำาให้พรรคการเมืองที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่นั้น ได้รับการตอบรับทั้งในระดับกระแสของตัวผู้สมัคร

             ส.ส. และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวของพรรคการเมือง ขณะที่คนในช่วงวัยผู้ใหญ่นั้น การรับรู้และเคลื่อนไหวทางการเมือง
             ก็มิได้เป็นไปในรูปแบบเดิมอีกต่อไป กล่าวคือมิใช่การรับรู้และเคลื่อนไหวทางการเมืองในลักษณะตั้งรับด้วยการ

             รอรับฟังข้อมูลผ่านการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่จะเข้ามาในพื้นที่ หากแต่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนถึง
             ตัวพรรคการเมือง นโยบายของพรรคการเมือง รูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค โดยเฉพาะการ

             ติดตามข้อมูลของนักการเมืองที่ลงสมัครในพื้นที่เลือกตั้งของตน และนโยบายของพรรค การหาเสียงในระดับพรรค
             ผ่านสื่อออนไลน์เช่นเดียวกับคนหนุ่สาว หากเพียงแต่ว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูล

             ทางการเมืองอาจไม่รวดเร็วเท่ากับคนหนุ่มสาว


                      ความรับรู้และการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ ดังกล่าว ทำาให้คณะกรรมการ
             การเลือกตั้งประจำาจังหวัด นักการเมืองและพรรคการเมืองจำาเป็นต้องดำาเนินการติดตามข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำา

             มาสู่การปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ เช่น การเรียกร้องถึงประเด็นว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งมีข้อสงสัย
             และเป็นที่วิตกกังวลต่อการทำาให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในกลุ่มประชาชนที่สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง

             การติดตามวิธีการและกลยุทธ์การหาเสียงของพรรคการเมือง และนักการเมือง การติดตามความถูกต้อง
             ของการใช้เงินหาเสียง นอกจากนี้ตัวผู้สมัครฯ ยังทำาการยื่นหนังสือให้มีการทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งที่มี

             การดำาเนินการโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง

                      ความเคลื่อนไหวทางการเมืองดังกล่าวทำาให้พรรคการเมือง นักการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้ง

             และรวมถึงหน่วยงานราชการได้ให้ความสำาคัญและตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่ไว้วางใจของ

             ประชาชนจนอาจนำาไปสู่ประเด็นอื่น ๆ


                      ประเด็นที่สอง บทบาทและการทำางานของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดกาญจนบุรี และระดับ
             เขตเลือกตั้งของจังหวัด ปัญหา อุปสรรคและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการการเลือกตั้งสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดกาญจนบุรี


                      ดังที่อธิบายข้างต้นแล้วว่า ผลจาการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านความสนใจและติดตามการเลือก

             ตั้งครั้งนี้ของประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ ที่มีจำานวนมากนั้นทำาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดได้มีการปรับ
             การทำางานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ นอกจากจากยังมีการทำางานเชิงรุกมากขึ้น กล่าวคือ มีการดำาเนินการ

             จัดประชุมทำาความเข้าใจในประเด็นและวิธีการที่ถูกต้องตามระเบียบหรือกฎหมายว่าด้วยการใช้จ่ายเงินหาเสียง
             การจัดตั้งทีมหาเสียง การจัดทำาป้ายหาเสียง ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้ทำาให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีความรู้ความเข้าใจ

             ในเงื่อนไขต่าง ๆ และสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ หรือหากกระทำาในบางกรณีอาจมีความสุ่มเสียงต่อการทำาผิด
             กฎหมายเลือกตั้ง การทำางานเชิงรุกของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนั้นได้สร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง

             ผู้สมัครรับเลือกตั้งและองค์กร รวมถึงคลี่คลายสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาในการเลือกตั้งตามมา
             โดยเฉพาะผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่สนับสนุนผู้สมัครฯ และพรรคการเมือง

             ซึ่งในช่วงเวลาการจัดแบ่งพื้นที่เลือกตั้งให้อยู่ในแต่ละเขตเลือกตั้งนั้นได้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม
             และปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบในฐานคะแนนเสียง
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181