Page 180 - kpiebook63008
P. 180
180 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
กำรอภิปรำยผล
จากผลการศึกษาพบว่าการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม
นั้นมีประเด็นที่สำาคัญคือ การเลือกตัวบุคคลและพรรคการเมือง โดยที่ตัวบุคคลนั้นเป็นปัจจัยแรกที่ประชาชน
ให้ความสำาคัญ ในขณะที่ตัวพรรคนั้นเป็นผลจากนโยบายที่ได้รับการนำาเสนอต่อประชาชนหรือนโยบายที่ใช้หาเสียง
ในประเด็นการเลือกตัวบุคคลนั้นสัมพันธ์กับระบบอุปถัมภ์ และระบบเครือข่ายทางการเมืองของนักการเมือง
ที่มีต่อพื้นที่เลือกตั้ง รวมถึงกลยุทธ์และวิธีการที่ใช้ในการหาเสียง ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไป
ในสังคม เป็นลักษณะเชิงเหตุผลในมิติที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของประชาชน มิติดังกล่าวนี้สอดคล้องกับงานศึกษา
หลายชิ้นเช่นงานของ Norman Jacob (1971) เรื่อง Modernization without development: Thailand
as an Asian case study เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดขอนแก่นของนิพนธ์ โซะเฮง (2560) ซึ่งพบว่านักการเมือง
ใช้ประโยชน์จากมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยผ่านระบบอุปถัมภ์และเครือข่ายผู้นำาท้องถิ่น
ทั้งกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) สถาบันการศึกษา ศาสนา และใช้ประโยชน์จาก
ความสัมพันธ์เชิงอำานาจกับกลุ่มข้าราชการและพัฒนาเปลี่ยนแปลงสู่ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างแบบใหม่ภายใต้
ความเป็นประชาธิปไตยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนปรากฏผ่านการที่นักการเมืองและพรรคการเมืองสร้าง
ผลงาน/ดำาเนินการทั้งในด้านนโยบายและโครงการเพื่อตอบสนองต่อประชาชนที่มากขึ้นเป็นลำาดับและมักถูกเรียกว่า
ประชานิยมรวมถึงตลาดการเมือง และสอดคล้องกับงานของกฤษณา ไวสำารวจ (2555) เรื่องนักการเมืองถิ่น
จังหวัดสมุทรสงคราม และงานของกรวิทย์ เกาะกลาง (2555) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดกระบี่ งานของ
ชาญณวุฒิ ไชยรักษา (2549) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดพิษณุโลก งานของไชยวุฒิ มนตรีรักษ์ (2551) เรื่องนักการเมือง
ถิ่นจังหวัดเลย ศรุดา สมพอง (2551) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา และพิชญ์ สมพองเรื่องนักการ
เมืองถิ่นจังหวัดยโสธร (2551) นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีของรุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ (2551)
งานของบูฆอรี หยีมะ เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดปัตตานี (2549) และณัฐพงศ์ บุญเหลือ เรื่องนักการเมืองถิ่น
จังหวัดสุพรรณบุรี (2556) เป็นต้น ซึ่งพบว่าการหาเสียงของนักการเมืองมักเริ่มต้นจากวัฒนธรรมเครือญาติ
ต่อเนื่องไปสู่บุคคลใกล้ชิดและทำาการจัดตั้งหัวคะแนน กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.)
และบุคคลที่มีบทบาทสำาคัญในชุมชนหมู่บ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นอันสำาคัญของระบบการสร้างฐานเสียงและใช้
สำาหรับการหาเสียง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยกลุ่มข้าราชการอำาเภอและท้องถิ่นซึ่งมีบทบาทสำาคัญเช่นเดียวกัน
ในการหาเสียง มีผลต่อการยอมรับในบทบาท/บารมีของผู้สมัคร ส.ส.ที่มีต่อพื้นที่เลือกตั้งเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระบบอุปถัมภ์และเครือข่ายทางการเมืองของนักการเมืองจะมีผลต่อการตัดสินใจ
ในการเลือกตั้งของประชาชนก็ตาม หากแต่การเปลี่ยนแปลงในค่านิยม แนวคิด ความเชื่อทางการเมือง รวมถึง
พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรีก็มีมากด้วยเช่นกัน ดังจะพบว่าการเลือกนักการเมือง
และพรรคการเมืองนั้นมีเหตุผลหรือความเป็นเหตุเป็นผลทางการเมืองในตัวของมันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัย
ด้านผลประโยชน์หรือเหตุผลด้านผลประโยชน์ อันเกิดจากการเลือกตั้งนักการเมืองและพรรคการเมือง พฤติกรรม
ทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งจึงมิได้ดำารงอยู่เฉพาะเพียงระบบอุปถัมภ์และเครือข่ายทางการเมือง
ของนักการเมือง สิ่งดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ผลงานของนักการเมืองและนักการเมือง รวมถึงค่านิยมและอุดมการณ์