Page 181 - kpiebook63008
P. 181
181
ทางการเมืองของประชาชนก็มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น นับเป็นความเข้าใจที่มีต่อมิติการเมืองว่า การเมืองนั้น
เกี่ยวข้องและเป็นผลประโยชน์ของประชาชนอย่างไร สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นความเข้าใจในมิติอำานาจของประชาชน
ในการตัดสินใจทางการเมือง เหตุผลในการตัดสินใจทางการเมืองจึงเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางการเมืองของ
นักการเมืองและประชาชนที่มีสิทธิและอำานาจในการเลือกตั้ง สามารถอธิบายภายใต้แนวคิดการเลือกอย่าง
เป็นเหตุเป็นผลของจอน เอลเตอร์ (ไชยยันต์ ไชยพร, 2560) และการตัดสินใจเลือกของส่วนรวม (public choice)
(อนุสรณ์ ลุ่มมณี, 2555) ซึ่งอธิบายว่าการตัดสินใจเลือกของประชาชนในทางการเมืองนั้นมาจากการเรียนรู้
บทบาท สถานะการเมืองระหว่างตัวนักการเมือง พรรคการเมือง และรัฐบาล ที่ดำารงอยู่ในฐานะผู้ผลิตสินค้าและ
บริการสาธารณะผ่านนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงของพรรคการเมืองและนักการเมือง รวมถึงผลการบริหารงาน
ของรัฐบาล ขณะที่ประชาชนเปรียบเสมือนผู้บริโภคที่มีสถานะเป็นผู้ซื้อสินค้าและบริการสาธารณะ ดังนั้น
ทั้งสองฝ่ายต่างมีเป้าหมายให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุด
ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีทั้งการเคลื่อนไหวในกิจกรรมต่าง ๆ การแสดงความคิดและ
ความกระตือรือร้นทางการเมืองจึงเป็นมิติการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง ค่านิยม
ทางการเมือง (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, 2551) ของประชาชนในการเลือกตั้งและการเข้าใจการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่
ให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการเมืองจังหวัดกาญจนบุรีและการเมืองไทยในอนาคต
ข้อเสนอแนะในกำรวิจัย
จากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยที่สำาคัญ คือ การวิจัยนี้มีข้อจำากัดในเงื่อนไขของเวลา
ค่อนข้างมาก และรวมถึงการดำาเนินการเก็บข้อมูล อันเป็นผลจากสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะประเด็นด้าน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และต่อเนื่องมาถึงการตัดสินยุบพรรคการเมืองซึ่งทำาให้พรรคการเมืองใหญ่
ที่มีแนวโน้มที่จะได้รับคะแนนเสียงจำานวนมากนั้นต้องถูกต้องออกจากระบบการเลือกตั้งของจังหวัด มีผลทำาให้
การตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนนั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลของการวิจัยอันจะนำามาสู่
การผลการวิจัยที่มีคุณภาพนั้น จำาเป็นต้องมีการศึกษาในประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม