Page 168 - kpiebook63008
P. 168

168      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             ร้อยละ 33.9 สำาหรับ (3) สร้างปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคการเมืองระหว่างผู้สมัครแบบแบ่งเขตกับผู้สมัคร

             แบบบัญชีรายชื่อ ด้วยคะแนนแบบแบ่งเขตจะถูกนำามาใช้คิดเป็นจำานวน ส.ส. พึงมี เพราะผู้สมัครแบบแบ่งเขตรู้สึกว่า
                                                                                            87
             ตนเองเหนื่อยจากการหาเสียงมากกว่า แต่ผลที่ได้กลับไปอยู่ที่ผู้สมัครบัญชีรายชื่อที่ได้เป็น ส.ส.  (4) จำานวน
             ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตมีจำานวนมากนำาไปสู่ปัญหาการจัดการเลือกตั้ง เฉลี่ยอยูที่ 28 คนต่อเขตเลือกตั้งแตกต่าง
             จากการเลือกตั้งในอดีตที่มีจำานวนเฉลี่ย 6.5 คนต่อเขตเลือกตั้ง (5) ปัญหาความแตกต่างหมายเลขผู้สมัคร

             แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ทำาให้เขตเลือกตั้งทั้ง 350 เขตผู้สมัครจากพรรคเดียวกันแม้จะอยู่ในจังหวัดเดียวกัน
             ก็มีหมายเลขแตกต่างกัน ทำาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งประสบปัญหามากในการจดจำาผู้สมัครและพรรคการเมือง

             (6) มีพรรคการเมืองที่มี ส.ส. มากที่สุดในการเมืองไทย จำานวนถึง 27 พรรค จากการมีพรรคเล็กเกิดขึ้นจำานวนมาก
             และ (7) การกลับมาของปัญหาการซื้อเสียงที่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยในการเลือกตั้งก่อนหน้านั้นระบบการซื้อเสียง

             มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการชัยชนะในการเลือกตั้งน้อยลงเป็นลำาดับ 88


                      ประการที่สอง ปัญหาการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งพบว่ามีปัญหามากกว่าการเลือกตั้งทุกครั้ง ด้วยผลจาก
             ระบบการเลือกตั้งที่ได้รับการกำาหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญปี 2560, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมธรรมนูญ

             ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งในหลายฉบับ ประกอบด้วย (1) ปัญหา
             หีบบัตรเลือกตั้ง โดยผลจากผู้สมัครมีจำานวนมากทำาให้ตัวหนังสือและช่องกากบาทมีขนาดเล็ก เกิดการกากบาท

             ผิดพลาด (2) ปัญหาการแบ่งเขตเลือกตั้ง จากผลจำานวนเขตเลือกตั้งลดเหลือเพียง 350 เขต ทำาให้ต้องแบ่งเขต
             เลือกตั้งใหม่ และการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่ต้องรับฟังความคิดเห็นนำามาสู่ข้อสงสัยความไม่เป็นธรรมในการแบ่งเขต

             เลือกตั้ง (3) ปัญหาจากการขยายเวลาการปิดหีบเลือกตั้งเป็น 08.00-17.00 แม้จะมาจากวัตถุประสงค์ที่ดีแต่ส่งผล
             ต่อเวลาการเริ่มนับคะแนน ทำาให้กระบวนการมีความยุ่งยาก (4) ปัญหาจากการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า แม้จะมี

             เป้าหมายที่ดีหากแต่มีผลต่อการใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำานวนมาก โดยเฉพาะการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า
             นอกเขตเลือกตั้งและในเขตเลือกตั้ง (5) ปัญหาการรายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ทำาให้เกิด

             ความคลาดเคลื่อนมาก เกิดความสับสน กระทบต่อความเชื่อถือต่อ กกต. ทั้งนี้จากกรณีที่มีผู้สมัครจำานวนมาก
             เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าในทุกเขตเลือกตั้งเมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา


                      ประการที่สาม ปัญหาโครงสร้างและบุคลากรในการจัดการเลือกตั้งและการตรวจสอบการเลือกตั้ง
             พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ส่งผลต่อการ

             จัดการเลือกตั้ง ประกอบด้วย (1) การยกเลิก กกต.จังหวัดและให้มีผู้ตรวจการเลือกตั้งแทน แม้จะทำาให้การ

             จัดการในระดับรวดเร็วแต่มีผลต่อผู้อำานวยการสำานักงาน กกต.จังหวัดที่ทำางานได้ยากขึ้น ด้วยไม่มีสถานะหรือ
             ได้รับการยอมรับเทียบเท่า กกต.จังหวัด ขณะที่ผู้ตรวจการเลือกตั้งทำางานไม่บรรลุผลด้วยปัญหาเชิงระบบ





             87 ในรายงานวิจัยดังกล่าว พรรคอนาคตใหม่มีปัญหามากที่สุดเนื่องจากมี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดและมากกว่าจำานวน
             ส.ส.ระบบแบ่งเขต แตกต่างจากพรรคเพื่อไทยที่ไม่ปรากฏปัญหาด้วยไม่มี ส.ส.บัญชีรายชื่อเลย

             88 รายงานวิจัยดังกล่าวพบว่าเงินเป็นปัจจัยหลักต่อการตัดสินใจร้อยละ 9.15 ขณะที่การเลือกตั้งปี 2554 เป็นปัจจัยเพียง
             ร้อยละ 4 เท่านั้น
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173