Page 162 - kpiebook63008
P. 162
162 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
“จะให้เราเลือก ก็ต้องลงมาบอก มากล่าว มาให้เห็นบ้างก็จะดี ไม่ใช่มีแต่สื่อในทีวี ในโทรศัพท์
มันก็ดีหรอก ท�าให้รู้ว่ามีคุณสมบัติอะไรให้ต้องเลือก รู้ว่านโยบายเป็นยังไง แต่ก็อย่างว่า มันต้องลงมาพื้นที่
ลงมาบ่อย ๆ ยิ่งดี จะได้รู้ว่าจริงใจในการพัฒนาพื้นที่หมู่บ้านต�าบลเรามากน้อยแค่ไหน...”
ประการที่สี่ การใช้โปสเตอร์ ป้ายแนะน�าตัวผู้สมัคร นโยบายของพรรคการเมือง (ป้ายคัตเอ้าต์) นามบัตร
และแผ่นผับ ส�าหรับ “แผ่นพับ” เป็นรูปแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้ในอดีต หากแต่ปัจจุบันปริมาณ/จำานวนมีลักษณะที่
ลดลงเมื่อเปรียบกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่าน ๆ มา อันเนื่องมาจากรูปแบบและเทคโนโลยีการสื่อสารมีความทันสมัย
มากขึ้น โดยเฉพาะความก้าวหน้าด้านโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตามทั้งแผ่นผับ โปสเตอร์ และป้ายแนะนำาตัวผู้สมัคร
นโยบายพรรคการเมือง นามบัตรและแผ่นผับก็ยังคงมีความสำาคัญ กรณี “โปสเตอร์ แผ่นผับและนามบัตร” นั้น
สามารถใช้กระจายถึงประชาชนและพื้นที่ได้มาก ที่สำาคัญชาวบ้าน/ประชาชนสามารถรับแจกจากผู้สมัคร หัวคะแนน
รวมถึงเพื่อนฝูงนำาพกติดมือกับบ้านได้โดยสะดวก สามารถหาข้อมูลด้วยการอ่านเพื่อทำาความเข้าใจคุณสมบัติ
ผู้สมัคร นโยบายพรรคและผลงานได้ตลอดเวลา ถือเป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารที่สำาคัญโดยเฉพาะพื้นที่ตำาบล
หมู่บ้านที่ห่างไกล ซึ่งการเดินทางของผู้สมัครและพรรคเข้าถึงพื้นที่ได้ยากและมีเวลาลงพื้นที่อันจำากัด ขณะที่
“ป้ายคัตเอ้าต์” หรือ “ป้ายแนะนำาตัวผู้สมัคร นโยบายพรรคการเมือง” นั้นถือเป็นรูปแบบที่นิยมและจำาเป็นต้องมี
เพราะสามารถสื่อสารกับประชาชนได้ครอบคลุมพื้นที่เลือกตั้ง มีข้อดีหลายประการโดยเฉพาะการสื่อสารกับ
ประชาชนในการรับรู้และตระหนักรู้ในสิ่งที่เป็นนโยบายหลัก/สำาคัญของพรรคการเมือง ผลงานของพรรคและ
คุณสมบัติของผู้สมัคร นอกจากนี้ป้ายคัตเอ้าต์ยังช่วยในการตอกยำ้าถึงบรรดาผู้สมัครของพรรคและนโยบายของ
พรรคการเมืองได้ตลอดเวลาที่ประชาชนเดินทางผ่าน พื้นที่ติดตั้งป้ายคัตเอ้าต์นับว่ามีผลต่อเป้าหมายสำาหรับการ
สื่อสารกับประชาชน ดังนั้นพื้นที่ที่บรรดาผู้สมัครและพรรคการเมืองนิยมติดตั้งมักเป็นสี่แยกไฟแดง และริมถนน
ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชุมชน รวมถึงปากทางเข้าหมู่บ้านหรือชุมชน อย่างไรก็ตามแม้ว่าสำานักงานการเลือกตั้ง (กกต.)
จังหวัดกาญจนบุรี และ กกต. เขตพื้นที่จะกำาหนดพื้นที่ติดตั้งไว้ให้ซึ่งก็มีข้อดีอยู่มาก หากแต่ในความเป็นจริงการ
ติดตั้งป้ายคัตเอ้าต์ของผู้สมัครและพรรคก็ยังมีปรากฏในพื้นที่ต่าง ๆ ในทุกเขตเลือกตั้ง ในขณะที่การปฏิบัติตาม
กฎระเบียบ ในกรณีป้ายคัตเอ้าต์สำาหรับโฆษณาและประชาสัมพันธ์พรรคการเมืองและตัวผู้สมัครนั้น พรรคการเมือง
จะมุ่งเน้นการกำากับดูแลและควบคุมขนาดของป้ายอย่างเคร่งครัด ด้วยการจัดทำาป้ายของพรรคและผู้สมัครเอง
เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดและหมิ่นเหม่ต่อการทำาผิดระเบียบของ กกต.
ประการที่ห้า การใช้หัวคะแนน นับเป็นรูปแบบการหาเสียงที่นิยมใช้และมีผลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง
โดยเฉพาะในระบบเขตเลือกตั้งมากที่สุด ด้วยเหตุผลสำาคัญคือ การเข้าถึงประชาชนหรือชาวบ้านได้ดีกว่า
วิธีการ/รูปแบบการหาเสียงอื่น ๆ ระบบหัวคะแนนถือเป็นหนึ่งในระบบการอุปถัมภ์ของการเมืองไทยในทุกระดับ
ซึ่งสามารถประเมินถึงโอกาสในชัยชนะที่จะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างมาก ความสำาคัญของการใช้หัวคะแนนในการหาเสียง
ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีก็อาจไม่แตกต่างจากพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ หัวคะแนนส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้นำาชาวบ้าน
ในระดับหมู่บ้านและตำาบล ซึ่งผู้สมัครฯ ที่เป็นอดีต ส.ส.เดิมนั้นมีความได้เปรียบในแง่นี้อย่างมาก เพราะมี
ความสนิทสนมคุ้นเคยรวมถึงเป็นที่ไว้วางใจระหว่างผู้สมัครฯ กับหัวคะแนน โดยเฉพาะบรรดากำานัน ผู้ใหญ่บ้าน
รวมถึงผู้นำาชุมชน/หมู่บ้าน นอกจากนี้แล้วการย้ายสังกัดพรรคการเมืองไปสังกัดพรรคการเมืองที่เป็นที่ทราบ/