Page 154 - kpiebook63008
P. 154
154 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
ในพื้นที่ อาทิ “การเสนอพลเอกประยุทธ์ฯ ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อนำาประเทศไปสู่ทางออกของ
ปัญหาความขัดแย้ง...... มีความเด็ดขาดชัดเจน” การตอกยำ้าโครงการสวัสดิการประชารัฐ “มารดาประชารัฐ”
และ “ค่าแรงขั้นตำ่า 400-425 บาทต่อวัน สำาหรับพรรคอนาคตใหม่นั้นหากพิจารณาจากเนื้อหาของนโยบาย
อาจกล่าวได้ว่า มิได้เป็นจุดขายสำาหรับประชาชนทั่วไปในจังหวัดกาญจนบุรีมากนัก แต่จุดขายของพรรคกลับ
เป็นการนำาเสนอแนวทางว่าด้วยการเมืองของการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นใหม่
มิใช่การเมืองที่มีลักษณะเหมือนเช่นในระบบพรรคการเมืองแบบเก่าและนักการเมืองในอดีต
นอกจากนี้แนวทางและรูปแบบดังกล่าวนี้อาจเปรียบได้กับการเมืองสหรัฐอเมริกาในช่วงที่
บารัค โอบามา ได้รับการเสนอชื่อชิงตำาแหน่งประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนของพรรคเดโมแครต (Democrat Party)
กับตัวแทนของพรรครีพับรีกัล (Republican Party) หลังการสิ้นสุดการดำารงตำาแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง
ของจอร์จ ดับเบิลยู บุช จูเนียร์ และยิ่งตอกยำ้าความสำาเร็จของการนำาเสนอความหวังทางการเมืองเมื่อ
บารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้งสมัยที่สองด้วยการนำาเสนอแนวคิด/คอนเซ็ปต์/สโลแกนหาเสียง เพื่อ
84
“การเปลี่ยนแปลงอมริกัน “ หรือ “Change” (บารัค โอบามา, 2552) ยิ่งทำาให้เห็นชัดว่า การนำาเสนอ
การเปลี่ยนแปลงใหม่ของคนรุ่นใหม่ อันเป็นความหวัง/คาดวังของสังคม/ประชาชนแล้วหากสามารถสร้าง/
จุดกระแสในวงกว้างได้อย่างมากมายแล้ว ย่อมเป็นการสร้างการตอบรับด้วยการตัดสินใจลงคะแนน/
โหวตให้แก่ผู้สมัครของพรรคการเมืองเช่นพรรคอนาคตใหม่แม้ว่าจะเป็นเพียงพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่และ
มิได้มีระบบการคัด/สรรหา/ผู้สมัครฯ ที่เป็นนักการเมืองที่มีฐานเสียงสนับสนุนหนาแน่นและมีความครบเครื่อง
ในวิธีการ/กลยุทธ์ผ่านระบบหัวคะแนนอันเป็นระบบที่มีทรงพลังในการเลือกตั้งในระดับพื้นที่มากที่สุด
แนวนโยบายข้างต้นพรรคการเมืองต่าง ๆ ดังกล่าวเมื่อนำาแนวคิดว่าด้วยความการตัดสินใจเลือก
ของส่วนรวม (public choice) ซึ่งอธิบายถึงรูปแบบ ลักษณะ วิธีการและกลยุทธ์ทางการเมือง รวมถึงแนวคิด
การตลาดการเมือง (Trent, Judith S., Friedenberg, Robert V., and Denton Jr, Robert E., 2011) ที่ว่า
“รัฐบาล พรรคการเมือง และนักการเมืองเปรียบเสมือนักธุรกิจหรือพ่อค้าผู้ทำาหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการภายใต้
สิ่งที่เรียกว่านโยบายสาธารณะ ประชาชนดำารงสถานะผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมซื้อสินค้าและบริการ พฤติกรรม
ทางการเมืองทั้งสองฝ่ายล้วนมุ่งแสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุด (maximization of utility) โดยประชาชนมีเหตุผล
ในการที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะตามความต้องการของตน และมีความสามารถ
ในการจัดลำาดับความต้องการของตนอีกด้วย (อนุสรณ์ ลิ่มมณี, 2555, หน้า 95-98) การจัดลำาดับความต้องการ
ดังกล่าวนั้น ย่อมมีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากเป้าหมายและประโยชน์ที่ต้องการได้รับแตกต่างกัน สิ่งดังกล่าว
สะท้อนถึงพฤติกรรมทางการเมืองที่แตกต่างกันทั้งในด้านค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และเป้าหมาย เช่น บางคน
ต้องการเลือกนโยบายของพรรคการเมืองมากกว่าการให้ความสำาคัญของตัวบุคคล ในขณะที่บางคนต้องการเลือก
ตัวบุคคล/ผู้สมัคร ส.ส. มากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า นักการเมืองที่ตนเองสนับสนุนนั้นมีผลงานที่จับต้องได้ พบเห็น
84 สุนทรพจน์ในการหาเสียงของบารัค โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ ‘Change we can believe in’