Page 153 - kpiebook63008
P. 153
153
แผนภาพ 5.1 แสดงสัดส่วนคะแนนร้อยละโดยประมำณของพรรคกำรเมือง 6 พรรคแรกที่ได้รับคะแนนมำก
ที่สุดในแต่ละเขตเลือกตั้ง
กำรปรับกลยุทธ์เชิงนโยบำยถูกน�ำมำใช้มำกที่สุดในช่วงกำรหำเสียงโค้งสุดท้ำย
หากพิจารณานโยบายหลักของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการได้รับการคาดหมายถึงโอกาสชนะการเลือกตั้ง
นั้นพบว่าในบรรดานโยบายพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่กำาหนดออกมาและใช้หาเสียงนั้น นโยบายของพรรคภูมิใจไทย
ดูเหมือนว่าจะมีชัดเจน เป็นรูปแบบและมีเป้าหมายชัดเจนในทางการตลาดการเมืองมากที่สุด เช่น การนำาเสนอ
นโยบายประกันราคาข้าวหอมมะลิ 18,000 บาท และตามด้วยการบวกกำาไรเพิ่มอีก 1,500 บาท รวมเป็นราคา
ข้าวหอมมะลิที่ชาวนาจะขายได้ และกำาหนาดราคายางไว้ไม่ตำ่ากว่ากิโลกรัมละ 4 บาท เป็นต้น นโยบายดังกล่าว
ของพรรคภูมิใจไทยจึงมีเป้าหมายเพื่อแสวงหากลุ่มผู้สนับสนุนที่เป็นลูกค้าทางการเมืองโดยตรง และนอกจากนี้ยัง
ประกอบด้วยนโยบายที่เน้น “ผลที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ มิใช่นโยบายในเชิงนามธรรมที่ยากต่อการเข้าใจ และ
เป็นที่เบื่อหน่าย/ไม่น่าสนใจ อันปรากฏผ่านนโยบายของพรรคการเมืองในอดีตแบบเก่า” ที่สำาคัญการนำาเสนอ
“กัญชาพืชเศรษฐกิจแก้จน” นั้นได้รับการกล่าวขานกลายเป็นกระแสในการถกเถียง พูดคุย โต้แย้งถึงโอกาส
ในความเป็นไปได้หรือไม่ได้ของสังคม แม้ว่าจะได้รับการแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างมากในคนบางกลุ่ม
แต่กระนั้นก็เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับที่สามารถยืนอยู่รอดได้ท่ามกลางประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ
แต่สำาหรับชาวบ้านแล้วดูเหมือนจะเป็นนโยบายแห่ง “โอกาสและความหวัง” มากว่าจะเป็นทางออกและทางรอด
ในภาวะราคาพืชผลการเกษตรตกตำ่าโดยที่ยังไม่มีท่าที/แนวโน้มว่าจะดีขึ้นเหมือนเช่นในช่วงเวลาหลังการเลือกตั้ง
ปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงก่อนการยึดอำานาจปี 2557 ขณะที่พรรคพลังประชารัฐมุ่งเน้นนโยบายที่เป็นรูปธรรม
เพื่อกระตุ้น/ตอกยำ้า/สร้างการตระหนักรู้ในช่วงโค้งสุดท้ายนับว่าได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างมากจากประชาชน