Page 54 - kpiebook63006
P. 54
54 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
ร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงข้อดีของระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “แบบจัดสรรปันส่วนผสม”
โดยสรุปว่า นอกจากจะไม่ทำาให้คะแนนของประชาชนสูญไปโดยเปล่าประโยชน์ ระบบเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรระบบนี้ยังเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย และจะทำาให้ทุกพรรคคัดเลือกคนที่ดีที่สุด
มาเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยได้อธิบายประโยชน์ของระบบเลือกตั้งแบบจัดสรร
ปันส่วนผสมไว้ดังนี้ (“มีชัย” ยืนยันเลือกตั้งจัดสรรปันส่วน แจง 7 ข้อดี-ช่วยปรองดอง, ใน MGR ONLINE,
2 พฤศจิกายน 2558 (ออนไลน์). 1 มีนาคม 2562, แหล่งที่มา https://mgronline.com/daily/
detail/95800001222382558)
1. เคารพเสียงของประชาชนทุกคะแนนจะไม่สูญเปล่า
2. ไม่คำานึงถึงประโยชน์ของพรรคการเมืองใด แต่มุ่งให้คะแนนของประชาชนมีนำ้าหนักในการ
ออกเสียงเลือกตั้งมากที่สุด
3. เป็นการสร้างความปรองดอง คือ ให้คะแนนเฉลี่ยกับทุกพรรคตามความเหมาะสม
4. สร้างระบบเลือกตั้งที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย เลือกปรับใช้ในส่วนที่เป็นประโยชน์
5. แก้ไขปัญหาการจัดสรรงบประมาณ ที่อิงเฉพาะพื้นที่ฐานเสียงของพรรคตน
6. พรรคจะคัดเลือกคนดีลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหวังคะแนนไปคำานวณเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรบัญชีรายชื่อ
7. คำานึงถึงคะแนนเสียงของประชาชน ที่ถูกทิ้งไปอย่างไม่เป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมนี้ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก
เช่น ประจักษ์ ก้องกีรติ (“ระบบการเลือกตั้ง”จัดสรรปันส่วนผสม”: ปัญหาและทางออก,” ใน ประชาไท.
2 กุมภาพันธ์ 2559 (ออนไลน์), 2 มีนาคม 2562, แหล่งที่มา https://prachatai.com/journal/2016/
02/64002) เห็นว่า ปัญหาใหญ่ของระบบนี้ซึ่งทำาให้ประเทศส่วนใหญ่ไม่มีใครใช้ หรือที่เคยใช้ก็เลิกใช้แล้ว
คือ สร้างความสับสนและทำาให้คะแนนไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะบัตรใบเดียวแต่คะแนน
กลับถูกนับสองครั้งทั้งในระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อ และสร้างระบบที่ไม่ยุติธรรมคือ ยิ่งพรรคได้ที่นั่ง
ในระบบเขตมากขึ้นเท่าใด กลับยิ่งได้ผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อน้อยลงตามนั้น นอกจากนั้นยังไม่สามารถ
แยกแยะและสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้ว่าประชาชนต้องการเลือกพรรคหรือเลือกตัวบุคคล
เพราะปิดกั้นโอกาสในการใช้สิทธิอย่างเสรี บีบให้เลือกได้แค่คะแนนเดียว ในขณะที่ระบบที่มีบัตรเลือกตั้ง
สองใบทำาให้ประชาชนมีสิทธิเต็มที่กล่าวคือ “เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ” ดังที่พบในงานวิจัยจำานวน
มากว่าในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมาคนไทยใช้สิทธิอย่างชาญฉลาดและมียุทธศาสตร์มากขึ้น คือ ในระบบ
บัญชีรายชื่อจะเลือกพรรคที่ตนอยากให้เป็นรัฐบาลเพราะชอบนโยบาย แต่ในระบบเขตอาจจะไม่เลือกคน