Page 50 - kpiebook63006
P. 50
50 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
คะแนนของทั้ง 2 ระบบมาคิดคะแนนร่วมกัน และไม่มีการชดเชยคะแนนจากระบบบัญชีรายชื่อ เพื่อนำามา
จัดสรรที่นั่งที่ขาดหายไปจากระบบเขตเลือกตั้ง ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าระบบนี้ไม่สนใจในประเด็นการไม่สะท้อน
สัดส่วนของคะแนนที่แท้จริง ของพรรคการเมืองกับจำานวนที่นั่งในสภา เนื่องจากระบบนี้ถูกออกแบบมา
เพื่อให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากในสภา ดังนั้น ในประเทศต่างๆ จึงให้ความ
สำาคัญกับส.ส. ในระบบเขตเลือกตั้งด้วยการกำาหนดให้ส.ส.ในระบบเขตเลือกตั้ง ซึ่งใช้ระบบเลือกตั้งแบบ
พหุนิยมหรือเสียงข้างมากธรรมดาเขตละ 1 คน มีจำานวนมากกว่าส.ส. ที่มาจากระบบบัญชีรายชื่อแทนที่
จะมีสัดส่วนเท่าเทียมกัน เช่น ญี่ปุ่น จำานวนส.ส. แบบแบ่งเขต 60% ส่วนส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 40%
บางประเทศขาดความสมดุลเป็นอย่างมาก เช่น เกาหลีใต้ 80% เป็นส.ส. ในระบบเขตเลือกตั้ง ส่วนส.ส.
จากระบบบัญชีรายชื่อมีเพียง 20% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ระบบนี้มีใช้ใน 21 ประเทศ และได้รับ
ความนิยมอย่างสูงในการออกแบบระบบเลือกตั้งนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา
ข้อดีของระบบนี้
1. พรรคขนาดใหญ่มีโอกาสชนะเลือกตั้งได้จำานวนที่นั่งเกินครึ่ง นำาไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล
พรรคเดียว ก่อให้เกิดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพสูง
2. ทำาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถแยกการเลือก ระหว่างผู้สมัครที่ชื่นชอบในระบบเขตเลือกตั้ง
กับพรรคการเมืองที่ตนพึงพอใจในระบบบัญชีรายชื่อได้อย่างชัดเจน หรือที่เรียกว่า
“เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ”
ข้อเสียของระบบนี้
1. ระบบนี้ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาการไม่สะท้อนความเป็นตัวแทนที่แท้จริง ที่มาจากจำานวนคะแนน
เสียงไม่ได้สัดส่วนกับตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้ง เพราะการคิดคะแนนแยกอิสระจากกัน
แตกต่างจากระบบผสมการแบ่งเขตกับสัดส่วน
2. อาจเกิดการแบ่งแยกในหมู่สมาชิกสภาระหว่างสมาชิกที่มาจากระบบเขตเลือกตั้ง กับสมาชิก
ที่มาจากระบบบัญชีรายชื่อไม่ต่างจากระบบผสมการแบ่งเขตกับสัดส่วน
ระบบอื่นๆ
ระบบการเลือกตั้งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นระบบหลัก ซึ่งสามารถจัดกลุ่มหรือจัดประเภทได้
แต่ยังมีอีกหลายระบบที่ไม่อาจจัดกลุ่มหรือประเภทได้