Page 45 - kpiebook63006
P. 45
45
ในเขตเลือกตั้ง ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเลือกเป็นพรรค ไม่ใช่เลือกเป็นรายบุคคล การคิดคะแนน
หาผู้ชนะเลือกตั้ง จะนำาคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับมาคำานวณ เพื่อหาสัดส่วนว่าแต่ละพรรคจะได้ที่นั่งกี่ที่นั่ง
และใครบ้างที่ได้รับการเลือกตั้งเรียงตามลำาดับที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อ
ข้อดีของระบบนี้
1. ความเป็นตัวแทนครอบคลุมคนทุกกลุ่ม เพราะเปิดโอกาสให้กับพรรคการเมืองขนาดเล็ก
ที่เป็นตัวแทนของคนเฉพาะกลุ่ม มีฐานเสียงสนับสนุนไม่มากนัก เช่น ชนกลุ่มน้อยได้มี
โอกาสชนะเลือกตั้งแข่งขันกับพรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้
2. การทำาให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย ไม่สูญเปล่าเพราะถูกนำาไปคำานวณหาสัดส่วนที่นั่ง
ส่งผลในทางจิตวิทยา ทำาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองขนาดเล็ก
อยากไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อัตราการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือ “นอนหลับทับสิทธิ์” น้อยลง
เพราะเชื่อว่าคะแนนเสียงของตนเองก็มีความหมายต่ออนาคตทางการเมืองของประเทศ
3. ความเข้าใจที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนสำาหรับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะลงคะแนนเลือกเป็นพรรค
ในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของพรรคการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่าง
พรรคการเมืองกับประชาชน
ข้อเสียของระบบนี้
1. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างผู้แทนกับประชาชนในเขตเลือกตั้งขาดหายไป เนื่องจาก
ประชาชนตัดสินใจเลือกด้วยการพิจารณาพรรคแทนการพิจารณาตัวบุคคล ซึ่งพรรคเป็น
ผู้สรรหามาให้ในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอำานาจน้อยในการกำาหนดคุณสมบัติของ
บุคคลที่จะมาเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง อีกทั้งหากใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้สมัคร
จำานวนมากในบัญชีรายชื่ออาจไม่เป็นที่รู้จักของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่
2. การเกิดระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค (multiparty system) สืบเนื่องจากพรรคการเมือง
ต่างๆ รวมถึงพรรคการเมืองขนาดเล็กมีโอกาสจะได้รับการเลือกตั้ง ส่งผลให้พรรคการเมือง
ที่มีตัวแทนเข้าสู่สภามีจำานวนมาก มีความแตกต่างทางอุดมการณ์และความคิดทางการเมือง
สูง และนำาไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรค ซึ่งมีปัญหาทำาให้ขาดความเป็นเอกภาพ
ด้านนโยบายและปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาล ในขณะเดียวกันก็ทำาให้ประชาชนไม่สามารถ
ตรวจสอบการทำางานของรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ ต่างจากระบบพหุนิยมและระบบเสียงข้างมาก
ที่รัฐบาลมักเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบและการตัดสินใจในการเลือกตั้ง
ครั้งต่อไป