Page 46 - kpiebook63006
P. 46
46 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
3. การสร้างอำานาจของคณะกรรมการบริหารพรรคเหนือตัวผู้สมัคร แม้ว่าระบบนี้เป็นผลดี
ในการสร้างความเข้มแข็งของพรรคการเมือง เพราะประชาชนตัดสินใจเลือกจากตัวพรรค
มากกว่าตัวผู้สมัคร แต่คณะกรรมการบริหารของพรรคมีอำานาจในการตัดสินใจ ว่าใครจะได้
เป็นผู้สมัครและอยู่ในบัญชีรายชื่อลำาดับใด เปิดโอกาสให้คณะกรรมการบริหารพรรคสร้าง
อำานาจ อิทธิพลทางการเมืองต่อตัวผู้สมัคร ทำาให้ผู้สมัครให้ความสำาคัญต่อผู้บริหารพรรค
มากกว่าประชาชนในเขตเลือกตั้ง
2.3.2 ระบบถ่ำยโอนคะแนนเสียง
ด้วยเหตุที่ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อมีจุดอ่อน หรือข้อเสียในด้านการมีอำานาจของ
พรรคการเมืองเหนือผู้สมัครในการจัดลำาดับในบัญชีรายชื่อ ซึ่งผู้มีรายชื่อในลำาดับต้นๆ ย่อมมีโอกาสได้รับ
การเลือกตั้งมากกว่าผู้อยู่ในลำาดับท้ายๆ ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงจึงถูกคิดค้นเพื่ออุดช่องโหว่นี้ โดยใน
เขตเลือกตั้งซึ่งมีผู้แทนได้หลายคน เช่นเดียวกับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อได้กำาหนดให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
เลือกผู้สมัครด้วยการเรียงลำาดับตามความชอบ และจากต่างพรรคการเมืองก็ได้ อีกทั้งไม่จำาเป็นต้อง
จัดลำาดับความชอบผู้สมัครทุกคน อาจเลือกผู้สมัครเพียงคนเดียวก็ได้
การนับคะแนนหาผู้ชนะเลือกตั้งจะเริ่มต้นด้วยการกำาหนดโควตาของคะแนนเสียง
ที่เป็นเกณฑ์สำาหรับที่นั่ง 1 ที่นั่ง โดยปกติใช้โควตาแบบดรู้ป (Droop Quota) คือ
คะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมดรวมกัน
โควตา = ------------------------------------------- + 1
จำานวนที่นั่งทั้งหมด + 1
รายละเอียดมีดังนี้คือ สมมติในเขตเลือกตั้งหนึ่งมีจำานวนผู้แทนที่พึงมีได้ 5 คน
มีผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 300,000 คน การคำานวณหาโควตาก็จะเป็น 300,000 หารด้วย 5+1 เท่ากับ
50,000 จากนั้นนำามา +1 ก็จะได้ผลลัพธ์เป็น 50,001 คะแนน ผู้ชนะการเลือกตั้งคนแรกคือ ผู้ที่ได้คะแนน
ความชอบลำาดับที่ 1 ที่คะแนนถึง 50,001 คะแนนตามโควตา ต่อมาหาผู้ชนะเลือกตั้งคนที่ 2 ซึ่งในรอบนี้
จะมีการตัดสิทธิผู้สมัครที่ได้คะแนนนิยมในลำาดับแรกน้อยที่สุดออกจากการแข่งขัน แล้วถ่ายโอนคะแนน
ของผู้สมัครรายนี้ไปให้แก่ผู้สมัครที่ได้คะแนนนิยมเป็นคนที่สอง รองลงมาจากคนแรกที่ได้รับเลือกไปแล้ว
รวมถึงคะแนนส่วนเกินโควตาของผู้ที่ได้รับเลือกเป็นคนแรก ก็จะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้ได้รับความนิยมเป็นลำาดับ