Page 42 - kpiebook63006
P. 42
42 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
ที่หลากหลายเข้ามาในบัญชีรายชื่อ เช่น สตรี รวมถึงชนกลุ่มน้อยประเภทต่างๆ ที่ยากจะ
ชนะเลือกตั้งหากสมัครในระบบผู้ได้ที่ 1 ชนะเลือกตั้ง หรือระบบเสียงข้างมากธรรมดา
มีตัวแทนมากกว่า 1 คน
ข้อเสียของระบบนี้
1. ปัญหาความเป็นตัวแทนที่ไม่ได้สัดส่วนกับประชากรในเขตเลือกตั้ง ไม่แตกต่างจากระบบ
ผู้ได้ที่ 1 ชนะเลือกตั้ง เพราะพรรคที่ชนะเลือกตั้งได้คะแนนไม่เกินครึ่งหนึ่งของพรรค
ที่แพ้เลือกตั้งหลายพรรครวมกัน (ในกรณีที่ลงสมัครมากกว่า 2 พรรค)
2. ระบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
ระบบเสียงข้างมากเด็ดขาด (majority system) จัดทำาขึ้นภายหลังใช้ระบบพหุนิยมมาระยะหนึ่ง
แล้วถูกวิจารณ์ว่ามีข้อเสียหลายประการดังที่ได้กล่าวมา ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีหลายประเทศ
เปลี่ยนแปลงจากระบบผู้ได้ที่ 1 ชนะเลือกตั้งแล้วหันมาใช้ระบบนี้แทน ระบบนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อแก้ไข
จุดอ่อนของระบบพหุนิยมโดยเฉพาะในแง่ของความเป็นตัวแทนที่แท้จริงของคนในเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ
ภายใต้ระบบเสียงข้างมากเด็ดขาดผู้ชนะเลือกตั้งคือ ผู้ได้คะแนนเสียงเกินครึ่งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
เพื่อสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเลือกตั้งอย่างแท้จริง ระบบเสียงข้างมาก
เด็ดขาดแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อยดังนี้
2.2.1 ระบบเลือกตั้ง 2 รอบ
ระบบเลือกตั้ง 2 รอบ (the two-round system: TRS) ระบบนี้กำาหนดให้มีการเลือกตั้ง
2 รอบแทนที่จะเป็นรอบเดียวอย่างที่ระบบพหุนิยมใช้ ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งรอบแรกหากไม่มีผู้สมัครรายใด
ได้คะแนนเกินครึ่งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด จะนำาไปสู่การเลือกตั้งรอบที่ 2 แข่งขันกันเฉพาะผู้สมัคร
ที่ได้คะแนนสูงสุด 2 อันดับแรกจากการเลือกตั้งในรอบแรก โดยทั่วไปมักจะจัดการเลือกตั้งรอบที่ 2 ห่าง
จากรอบแรกประมาณ 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศในการเลือกตั้งรอบที่ 2 ไม่ได้คัดเฉพาะ
ผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุด 2 อันดับแรกเท่านั้น โดยอาจตั้งเกณฑ์คะแนนไว้ว่าหากผู้สมัครรายใดคะแนน
ถึงเกณฑ์ที่กำาหนดก็จะนำาไปสู่การเลือกตั้งรอบที่ 2 ได้ ระบบการเลือกตั้ง 2 รอบมักใช้กับประเทศที่เลือกตั้ง
ประธานาธิบดีโดยตรง นอกเหนือจากฝรั่งเศสแล้วก็ได้แก่ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
ทั้งหลาย รวมถึงประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากฝรั่งเศส