Page 37 - kpiebook63006
P. 37

37








                  และสามารถถูกตรวจสอบได้ง่ายกว่าระบบการเลือกตั้ง ที่ผู้แทนไม่ได้สัมพันธ์กับประชาชนโดยตรง

                  เช่น ระบบสัดส่วน ระบบบัญชีรายชื่อพรรค ข้อสรุปคือ ระบบเลือกตั้งจำาเป็นต้องเชื่อมโยงระหว่างผู้เลือก
                  กับผู้ถูกเลือก


                          3. เสถียรภำพของรัฐบำล


                          ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพเป็นหนึ่งในความปรารถนาของประเทศทั้งหลาย ซึ่งปัจจัยประการ

                  หนึ่งก็คือ การมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เป็นที่เชื่อกันว่า ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
                  และมีรัฐบาลพรรคเดียว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบ 2 พรรค (two party
                  system) เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพมากกว่ารัฐบาลผสมหลายพรรค (multiparty system) ซึ่งการได้รัฐบาล

                  พรรคเดียวหรือรัฐบาลผสมหลายพรรค ปัจจัยสำาคัญประการหนึ่งมาจากระบบการเลือกตั้ง


                          4. ควำมเท่ำเทียมในโอกำสของกำรแข่งขันระหว่ำงพรรคกำรเมือง


                          ในแง่นี้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรต่างๆ ในการแข่งขันการเลือกตั้งสูง
                  เหนือกว่าพรรคการเมืองขนาดเล็ก เช่น บุคลากร งบประมาณ แต่พรรคการเมืองขนาดเล็ก โดยเฉพาะ

                  อย่างยิ่งพรรคที่มีลักษณะเฉพาะกลุ่ม เช่น พรรคการเมืองของชนกลุ่มน้อย พรรคการเมืองของกลุ่มอาชีพ
                  ต่างก็คาดหวังที่จะมีตัวแทนของตนเข้าไปทำาหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ระบบการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน

                  มีผลต่อความเท่าเทียมในโอกาสที่จะได้รับการเลือกตั้งมีตัวแทนของพรรคในสภา

                          5. ควำมเหมำะสมกับศักยภำพของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง



                          ในแต่ละประเทศระดับการศึกษาของประชาชนมีความแตกต่างกัน บางประเทศยังมีประชาชน
                  จำานวนไม่น้อยที่ยังมีข้อจำากัดในการอ่านออกเขียนได้ ระบบการเลือกตั้งบางระบบที่มีความซับซ้อน

                  อาจส่งผลทำาให้เกิดปัญหาบัตรเสียหรือเป็นโมฆะไม่อาจนับเป็นคะแนนได้ การเลือกใช้ระบบการเลือกตั้ง
                  ว่าจะเป็นแบบใดจึงจำาเป็นต้องคำานึงถึงประเด็นนี้ด้วย


                          6. ควำมสำมำรถในกำรจัดกำรเลือกตั้งของหน่วยงำนที่รับผิดชอบ


                          ระบบการเลือกตั้งซึ่งไม่เพียงเป็นการลงคะแนนเสียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนับคะแนนเพื่อ
                  หาผู้ชนะการเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้ความชำานาญ ระบบการเลือกตั้ง

                  ยิ่งมีความซับซ้อนยิ่งต้องอาศัยความรู้ความชำานาญในการจัดการเลือกตั้งของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

                  หากเลือกระบบการเลือกตั้งที่มีความซับซ้อนมากก็มีความจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการให้หน่วยงาน
                  ที่รับผิดชอบจัดฝึกอบรม ให้ความรู้แก่บุคลากรที่จะจัดการเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิเช่นนั้นแล้ว
                  จะส่งผลกระทบต่อการจัดการเลือกตั้งอย่างมาก


                          ระบบการเลือกตั้งที่ใช้กันทั่วโลกในขณะนี้มี 4 ระบบหลัก และภายในระบบหลักยังแยก

                  ออกเป็นระบบย่อยอีกเป็นจำานวนมาก รวมทั้งยังมีระบบอื่นๆ ที่ไม่อาจจัดให้เข้ากับ 4 ระบบหลักได้
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42