Page 35 - kpiebook63006
P. 35

35








                  หรือประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแต่เกิดการรัฐประหาร ทำาให้รัฐบาลที่ขึ้นมาบริหารประเทศ

                  และสมาชิกรัฐสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่ในท้ายที่สุดก็เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งก็เพื่อต้องการสร้าง
                  ความชอบธรรมทางการเมือง ให้ประชาชนทั้งในและต่างประเทศยอมรับการมีอำานาจบริหารประเทศของ

                  รัฐบาล ขณะที่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยสามารถอ้างได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าเป็นรัฐบาลที่ได้รับอาณัติ
                  (mandate) จากประชาชนให้บริหารประเทศได้เพราะผ่านกระบวนการสำาคัญคือ การเลือกตั้งมาแล้ว


                            การเลือกตั้งซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำาคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

                  รูปแบบตัวแทน ต้องมีวิธีการได้มาของตัวแทนที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส ไม่เช่นนั้นแล้วย่อมจะทำาให้เกิด
                  ข้อกังขาที่มีต่อประชาธิปไตยรูปแบบนี้ อีกทั้งการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ตัวแทนไปทำาหน้าที่บัญญัติกฎหมาย

                  หรือการบริหารประเทศนั้นไม่ได้ มีเฉพาะในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ดังที่ได้
                  กล่าวมาแล้วในข้อที่ 5 ข้างต้นว่า ประเทศที่ปกครองในรูปแบบอื่นๆ ก็มีการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน เช่น

                  จีน หรือสหภาพโซเวียตในอดีต ซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ต่างก็มีการเลือกตั้ง ดังนั้น การเลือกตั้ง
                  ในระบอบประชาธิปไตยมีความจำาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีความแตกต่างจากการเลือกตั้งในระบอบการเมือง

                  แบบอื่น โดยมีหลักการที่สำาคัญดังนี้

                          1. หลักควำมอิสระแห่งกำรเลือกตั้ง (freedom of election)


                          การออกเสียงเลือกตั้งจะต้องเป็นไปโดยอิสระปราศจากการบังคับหรือการกระทำาใดๆ ที่เป็น

                  เหตุให้การเลือกตั้งถูกบิดเบือนไปจากเจตจำานงที่แท้จริงของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง เพื่อให้การออกเสียง
                  เลือกตั้งนั้นเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงว่าเขาต้องการเลือกใคร จากพรรคการเมืองใด

                  เป็นตัวแทนของเขาอย่างแท้จริง


                          2. หลักกำรเลือกตั้งตำมก�ำหนดระยะเวลำ (periodic election)


                          การเลือกตั้งจะต้องมีกำาหนดเวลาที่แน่นอน เช่น กำาหนดให้มีการเลือกตั้งโดยปกติทุก 4 ปี หรือ
                  5 ปี เป็นต้น เว้นแต่เกิดกรณีการยุบสภา ซึ่งจะนำาไปสู่การเลือกตั้งก่อนระยะเวลาที่กำาหนดไว้


                          3. หลักกำรเลือกตั้งอย่ำงแท้จริงหรือกำรเลือกตั้งที่ยุติธรรม (genuine election)


                          รัฐบาลมีหน้าที่สำาคัญที่จะต้องดำาเนินการเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย

                  และจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำาเนินการเลือกตั้งให้ได้มากที่สุด รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการคัดค้าน
                  การเลือกตั้งได้ หากการเลือกตั้งนั้นไม่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง


                          4. หลักกำรออกเสียงเลือกตั้งเป็นกำรทั่วไป (universal suffrage)


                          การเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงเลือกตั้งอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยไม่นำาปัจจัย
                  ต่างๆ มาจำากัดสิทธิ เช่น สีผิว เพศ สถานภาพทางเศรษฐกิจ ศาสนา เว้นแต่ที่มีข้อจำากัดอันเป็นที่ยอมรับ

                  ทั่วไป เช่น ไม่ให้สิทธิเลือกตั้งแก่เด็กและบุคคลที่วิกลจริต มีจิตบกพร่อง เป็นต้น
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40