Page 33 - kpiebook63006
P. 33

33














                                                   บทที่ 2






                              แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง



















                          งานวิจัยเรื่องการศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก

                  สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 จังหวัดสงขลา ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิด ทฤษฎีมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ดังนี้




                  1. แนวคิดเรื่องการเลือกตั้ง



                          ในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบตัวแทน (representative democracy) นั้นนับว่าการเลือกตั้ง

                  เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำาคัญถึงขนาดที่กล่าวได้ว่า หากปราศจากการเลือกตั้งก็ไม่นับว่าเป็นประชาธิปไตย
                  ในรูปแบบนี้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบที่สำาคัญหรือปัจจัยที่ขาดไม่ได้ (decisive

                  factor) ในขณะที่องค์ประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เพียงพอ (sufficiency factor)
                  เท่านั้น หากขาดซึ่งองค์ประกอบหรือปัจจัยนี้ความเป็นประชาธิปไตยรูปแบบตัวแทนก็ขาดความสมบูรณ์

                  อย่างยิ่ง เนื่องจากการเลือกตั้งมีบทบาทหน้าที่หลายประการดังนี้ (Heywood, 2002: 230-231)

                          1. การเลือกสรรนักการเมือง (recruiting politicians)



                          การเลือกตั้งเป็นช่องทางสำาคัญในการเลือกสรรตัวแทนทางการเมืองเพื่อไปทำาหน้าที่
                  ในด้านนิติบัญญัติและหรือในด้านการบริหาร โดยกระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่การเข้าเป็นสมาชิกพรรค
                  ที่ตนเองสนใจและชื่นชอบในนโยบาย อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคแล้วเสนอตัวต่อพรรคเพื่อให้

                  พรรคพิจารณาคุณสมบัติ ประสบการณ์ในด้านต่างๆ จนกระทั่งพรรคตัดสินใจส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง

                  เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกในท้ายที่สุด
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38