Page 28 - kpiebook63006
P. 28

28    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             บุตรชายของนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

             หรือในเขตเลือกตั้งที่ 3 ซึ่งเป็นเขตเดิมของอดีตส.ส.วิรัตน์ กัลยาศิริ แต่กว่าที่กรรมการบริหารพรรคจะตัดสินใจ
             ให้วิรัตน์ ลงสมัครได้ก็เป็นวันสุดท้ายของการปิดรับสมัคร เนื่องจากเกิดปัญหาในการคัดสรรตัวผู้สมัคร

             มีการเปลี่ยนแปลงไปมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจให้พล.ต.ท. สาคร ทองมุณี อดีตผู้บัญชาการ
             ตำารวจท่องเที่ยว ไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ที่ประกาศลาออก เพื่อลงสมัครตามมติพรรค

             แต่ในที่สุดพรรคกลับเปลี่ยนแปลงให้วิรัตน์ ลงสมัครเหมือนเดิม


                        นอกจากนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดสงขลามีพรรคการเมืองหลายพรรค ที่ดำาเนินงาน
             ทางการเมืองอย่างแข็งขัน โดยหวังที่จะเอาชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้ ซึ่งมีความแตกต่างจาก

             การเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ที่พรรคการเมืองต่างๆ ไม่ได้ทำากิจกรรมทางการเมืองอย่างจริงจังเพราะไม่เชื่อมั่นว่า
             พรรคของตนเองจะสามารถเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ได้


                        อีกทั้ง จากการสังเกตและสำารวจจากสื่อมวลชนทั้งระดับชาติและท้องถิ่น พบว่าประชาชน
             มีความตื่นตัวทางการเมืองสูง ต้องการการเลือกตั้งเพราะว่างเว้นมาอย่างยาวนานถึง 8 ปี โพลล์สำารวจ

             ความคิดเห็นทางการเมืองจากสื่อมวลชนในพื้นที่ พบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าประชาชน

             จะตัดสินใจเลือกโดยพิจารณาจากนโยบายของพรรค ต้องการเลือกผู้สมัครใหม่ พรรคการเมืองใหม่ในสัดส่วน
             ที่สูงกว่าพรรคการเมืองเดิมในอดีต ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
             ทางการเมืองในจังหวัดสงขลา







             วัตถุประสงค์



                      1. เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
             สมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา


                      2. เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงของ

             พฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มการเมืองในส่วน
             ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา


                      3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา


                      4. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผล
             ต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33