Page 27 - kpiebook63006
P. 27
27
บทที่ 1
ความเป็นมาและความส�าคัญของการศึกษา
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกร่างขึ้นภายใต้บรรยากาศหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ที่นำาโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และขึ้นดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย บทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 โดยในส่วนของระบบเลือกตั้งนั้น เป็นครั้งแรกที่มีการใช้ระบบจัดสรรปันส่วน
ผสม (Mixed Member Apportionment system หรือ MMA) อีกทั้งยังเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจาก
ห่างเหินจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อปี 2554 ยาวนานถึง 8 ปี ดังนั้น การเลือกตั้งในครั้งนี้จึงมีความ
น่าสนใจในการศึกษาวิจัยเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของการเมืองไทยในด้านการเลือกตั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบ
ต่อภาพรวมของการเมืองไทย
ในส่วนของจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความสำาคัญของภาคใต้ การเลือกตั้งครั้งนี้
มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจหลายประเด็น อย่างที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่
ครองความนิยมและผูกขาดในพื้นที่ภาคใต้มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน
2535 หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า การเลือกตั้งปี 2535/2 เนื่องจากในปีนั้นมีการเลือกตั้งถึง 2 ครั้ง
จนกระทั่งล่าสุดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 แต่ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562
ภายใต้ระบบการเลือกตั้งใหม่นี้ ได้ก่อให้เกิดพรรคการเมืองที่เสนอตัวส่งผู้สมัครในพื้นที่ภาคใต้ และจังหวัด
สงขลามากกว่า 30 พรรค ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในในบางเขตเลือกตั้ง
เช่น เขตเลือกตั้งที่ 1 อำาเภอเมืองสงขลา กรรมการบริหารพรรคลงมติไม่ส่งอดีตส.ส. 4 สมัย วัย 60 คือ
เจือ ราชสีห์ ลงสมัคร หลังจากดำาเนินการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้สมัครหรือทำาไพรมารี่ โหวต (primary vote)
แล้วโยกให้ไปลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อแทน โดยคนที่ได้ลงสมัครแทนคือ สรรเพชญ บุญญามณี วัย 28