Page 30 - kpiebook63006
P. 30
30 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
2) การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเครือข่ายทางการเมือง
มีผลต่อรูปแบบการแพ้ชนะ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร หากไม่มี อะไรคือ
ปัจจัยที่ทำาให้ผลของการเลือกตั้งออกมาในรูปแบบนั้น
3) การที่แต่ละพรรคต้องดำาเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติ มีผลทำาให้นโยบายของแต่ละ
พรรคในเขตพื้นที่มีความแตกต่างกันหรือไม่ ในส่วนของนโยบายพรรคที่แตกต่างกัน
มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้ลงคะแนนเสียงหรือไม่ หากเปรียบเทียบ
กับปัจจัยด้านตัวบุคคลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นโยบายพรรคหรือตัวบุคคลมีอิทธิพล
ต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่ากัน
4) สภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำาให้
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีความนิยม หรือมีความผูกพันกับพรรคการเมืองต่างไปจาก
การเลือกตั้งครั้งที่แล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อคำาถามว่า 8 ปีที่ไร้การเลือกตั้งนั้น ความเป็น
พรรคการเมือง หรือความนิยมในพรรคการเมือง ยังสามารถฝังรากลึกในสังคมไทยได้
หรือไม่ เพราะเหตุใด
ประโยชน์ของการศึกษา
1. เพื่อทราบถึงความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
สมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา
2. เพื่อทราบถึงความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง การเปลี่ยนของพฤติกรรม
ทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา
3. เพื่อทราบถึงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา
4. เพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผล
ต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา
5. เพื่อนำาความรู้ที่ได้มาใช้ในการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย เช่น ด้านพรรคการเมือง ด้าน
การหาเสียงเลือกตั้ง ด้านความตระหนักรู้ของประชาชน ด้านการจัดการเลือกตั้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง