Page 34 - kpiebook63006
P. 34

34    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                      2. กำรสร้ำงรัฐบำล (making government)


                      ในระบอบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี ซึ่งประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเลือกผู้บริหาร

             โดยตรง การเลือกตั้งมีความชัดเจนในแง่ของการเลือกผู้ที่จะเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ส่วนในระบอบ
             ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ประเทศที่ใช้รูปแบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดา แบบแบ่งเขต

             เขตละ 1 คน และการเมืองมีแนวโน้มเป็นระบบ 2 พรรค ก็มีความชัดเจนพอสมควรว่า พรรคที่ได้รับการ
             ยอมรับจากประชาชนจนชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากจะได้เป็นรัฐบาล แต่ประเทศที่ใช้ระบบการเลือกตั้ง

             แบบสัดส่วน รัฐบาลมักจะเป็นรัฐบาลผสม ซึ่งตกลงกันหลังเลือกตั้งว่าจะจัดสรรตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี
             และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ อย่างไร ความชัดเจนของการเลือกตั้งในแง่ของการสร้างรัฐบาลจึงต่างจาก

             ระบบประธานาธิบดี


                      3. กำรมีอิทธิพลต่อนโยบำย (influencing policy)


                      การเลือกตั้งเป็นโอกาสในการสะท้อนความคิด ความเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบาย และ
             การดำาเนินนโยบายของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา และนโยบายของพรรคอื่นๆ ที่เสนอตัวแข่งกับพรรครัฐบาล

             ซึ่งก็คือ การมีอิทธิพลต่อนโยบายนั่นเอง เนื่องจากในการหาเสียงเลือกตั้งตัวแทนของพรรคการเมืองต่างๆ
             จะนำาเสนอนโยบายของตนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับทราบผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งสื่อมวลชนกระแสหลัก

             เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์รายวัน และสื่อกระแสรองซึ่งกำาลังมีบทบาทและอิทธิพลสูงยิ่งในปัจจุบัน
             เพราะสามารถเข้าถึงคนกลุ่มต่างๆ อีกทั้งยังสามารถเลือกรับชม ฟัง อ่าน เมื่อใดก็ได้ที่สะดวกผ่าน

             ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ (social media) เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูบ เป็นต้น

                      4. กำรให้กำรศึกษำ เรียนรู้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (educating voters)


                      กระบวนการของการหาเสียงเลือกตั้งเป็นช่องทางในการนำาเสนอข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับพรรค

             นโยบายพรรค ตัวผู้สมัคร ผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ตลอดจนประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อท่าที

             ของพรรครัฐบาลและพรรคการเมืองอื่นๆ ช่วยให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นจาก
             สภาวะปกติที่ไม่มีการเลือกตั้ง เนื่องจากในบรรยากาศของการหาเสียงเลือกตั้งผู้สมัครและพรรคการเมือง
             จะใช้ช่องทางต่างๆ ในการสื่อสารทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการปิดโปสเตอร์ แผ่นป้ายหาเสียง การเดิน

             หรือขึ้นรถแห่เพื่อแนะนำาตัว การนำาเสนอผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในรูปของข้อความ ภาพนิ่ง

             หรือคลิปวิดีโอ ตลอดจนการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทัศนะและนโยบายของพรรคในเวทีถกเถียง
             แสดงความคิดเห็น (debate) ของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เหล่านี้ย่อมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น
             ในหมู่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง


                      5. กำรสร้ำงควำมชอบธรรม (building legitimacy)


                      เหตุผลหนึ่งที่ทำาให้ประเทศที่เป็นเผด็จการทั้งหลายยังต้องจัดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่

             ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย ดังเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศที่ปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39