Page 38 - kpiebook63006
P. 38

38    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             ซึ่งเมื่อพิจารณาในแต่ละระบบมีรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

             พอสังเขปดังนี้ (Reynolds, Reilly and Allis .2005. Pp.28-117., Carter and Farrell. “Electoral System
             and Election Management”. Cited In LeDuc, Niemi and Norris (Eds.) 2010. Pp. 25-44., Shugart

             and Wattenberg 2001)






                     2.1 ระบบพหุนิยมหรือระบบเสียงข้างมากธรรมดา


                      ระบบพหุนิยม (plurality system) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบเสียงข้างมากธรรมดา
             (simple majority) เป็นระบบการเลือกตั้งที่นับว่ามีความเก่าแก่มากที่สุดกว่าระบบอื่นใด เกิดขึ้นและใช้ใน

             การนับคะแนนก่อนจะเกิดพรรคการเมือง และเป็นระบบการเลือกตั้งเพียงระบบเดียวที่ใช้มาเป็นระยะ
             เวลายาวนานก่อนเกิดระบบการเลือกตั้งอื่นๆ ปัจจุบันได้รับความนิยมสูงเนื่องจากเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก

             ซับซ้อน เพราะผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดโดยไม่คำานึงว่าจะได้คะแนนเกินครึ่งของผู้ใช้สิทธิ
             เลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ ต้นแบบของระบบนี้คือ อังกฤษ และแพร่ไปยังยุโรปอีกหลายประเทศ โดยทั่วไป

             แล้วระบบเสียงข้างมากธรรมดามักจะใช้กับการเลือกตั้งแบบเขตละ 1 คน จึงเรียกชื่อว่าระบบพหุนิยม
             ที่มีผู้แทน 1 คนต่อ 1 เขต (single member plurality system : SMP) แต่ในระยะต่อมาหลายประเทศ

             นำาระบบนี้ไปใช้กับการเลือกตั้งที่แบ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนมากกว่า 1 คน ทำาให้ระบบนี้ถูกแบ่งออก
             เป็นระบบย่อยได้ 3 ระบบคือ


                        2.1.1 ระบบผู้ได้ที่ 1 ชนะเลือกตั้ง


                        ระบบผู้ได้ที่ 1 ชนะเลือกตั้ง (First-Past-the-Post: FPTP) นี้เป็นระบบแรกสุด เก่าแก่ที่สุด
             ที่คิดค้นขึ้นใช้ในการเลือกตั้งตามที่ได้กล่าวข้างต้น เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกตั้งเขตละ 1 คน (single-

             member district) ระบบนี้ง่ายต่อการทำาความเข้าใจแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ช่วยลดอัตราบัตรเสีย
             ที่จะเกิดจากการลงคะแนนผิด เพราะสามารถลงคะแนนเลือกได้เพียงหมายเลขหรือผู้สมัครเพียงคนเดียว

             และไม่ยุ่งยากซับซ้อนต่อคณะผู้จัดการเลือกตั้งในการนับคะแนนเสียง และแปลงคะแนนเสียงไปเป็นที่นั่ง
             เพราะผู้ชนะเลือกตั้งคือ ผู้ที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดในเขตเลือกตั้งนั้น โดยไม่คำานึงว่าผู้ชนะเลือกตั้งจะ

             ได้รับคะแนนเสียงเท่าไหร่ เกิน 50% หรือไม่ ในกรณีมีผู้สมัครเพียง 2 คน แน่นอนว่าผู้ชนะเลือกตั้งคือ
             ผู้ได้คะแนนเสียงเกินครึ่ง แต่หากมีผู้สมัครจำานวนมากกว่า ผู้ชนะเลือกตั้งอาจได้รับคะแนนเสียงเพียงเล็กน้อย

             เมื่อเทียบกับคะแนนเสียงที่รวมกันของผู้สมัครทั้งหมดที่แพ้เลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ระบบการเลือกตั้งนี้
             มีทั้งข้อดีและข้อเสีย การตัดสินใจว่าจะเลือกระบบการเลือกตั้งนี้ไปใช้หรือไม่ มีประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

             เพื่อพิจารณาตามที่ผู้เขียนได้นำาเสนอในเบื้องต้นแล้วดังนี้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43