Page 40 - kpiebook63006
P. 40

40    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                      2.  ปัญหาการไม่ได้สัดส่วนระหว่างคะแนนเสียงรวมทุกเขตเลือกตั้ง ที่พรรคการเมืองได้รับ

                          กับจำานวนที่นั่งในรัฐสภา (disproportionality) พรรคที่ชนะเลือกตั้งมีจำานวนสมาชิกรัฐสภา
                          เกินครึ่งจนได้จัดตั้งรัฐบาล กลับมีคะแนนรวมกันทั้งประเทศตำ่ากว่าพรรคการเมืองที่ได้จำานวน

                          ที่นั่งรองลงมาหรือพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งนักวิจารณ์ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้มองว่าสะท้อน
                          ให้เห็นถึงความไม่ได้สัดส่วนระหว่างคะแนนเสียงกับการจัดสรรที่นั่ง

                      3.  การสร้างความเสียเปรียบให้กับพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มีจำานวนสมาชิกพรรคน้อย มีสาขา

                          พรรคที่ไม่กระจายทั่วประเทศ มีงบประมาณในการหาเสียงไม่มาก เช่น พรรคการเมืองที่เป็น
                          ตัวแทนชนกลุ่มน้อย หรือพรรคการเมืองในระดับท้องถิ่น โอกาสที่พรรคการเมืองขนาดเล็ก

                          จะชนะเลือกตั้งในระบบเลือกตั้งที่มีผู้ชนะเพียงแค่ 1 คน ซึ่งเป็นผู้ได้คะแนนสูงสุดนี้เป็น
                          ไปได้ยากมาก ระบบการเลือกตั้งนี้จึงถูกวิจารณ์ว่า ไม่สร้างความเท่าเทียมในโอกาสของ

                          การแข่งขันทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ

                      4.  การเกิดความรู้สึกว่าคะแนนเสียงของตนไร้ความหมายจนนำาไปสู่การตัดสินใจไม่ไปใช้สิทธิ

                          เลือกตั้ง ข้อนี้สัมพันธ์เกี่ยวโยงกับข้อ (2) เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่า ผู้สมัครที่ตนต้องการ
                          จะเลือกเป็นผู้สมัครสังกัดพรรคการเมืองขนาดเล็ก การใช้สิทธิเลือกตั้งของตนจะสูญเปล่า

                          ไร้ความหมายในทางการเมืองเพราะผู้สมัครไม่มีโอกาสที่จะชนะเลือกตั้งได้จึงนำาไปสู่
                          “การนอนหลับทับสิทธิ”



                        2.1.2 ระบบเสียงข้ำงมำกธรรมดำ มีตัวแทนมำกกว่ำ 1 คน


                          ระบบเสียงข้างมากธรรมดา มีตัวแทนมากกว่า 1 คน (block vote: BV) ระบบนี้ยังคงยึดหลัก
             ของ FPTP แต่ปรับจากการแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละ 1 คน เป็นเขตละหลายคน (multi member district)

             ผู้ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำาดับของจำานวนผู้แทนที่พึงมีในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ดังนั้น

             ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนได้เท่ากับจำานวนของผู้แทนที่พึงมีในเขตเลือกตั้ง ซึ่งอาจตัดสินใจเลือก
             ผู้สมัครจากพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดทั้งหมดหรือที่เรียกว่าเลือก “ยกทีม” หรือตัดสินใจเลือก
             ไม่ครบตามจำานวนที่พึงมีผู้แทนก็ได้ หรือเลือกผู้สมัครคละพรรคกันได้ตามที่ต้องการ


                        ข้อดีของระบบนี้


                      1.  การเพิ่มจำานวนผู้แทนในเขตเลือกตั้งให้กับประชาชน แทนที่ประชาชนจะมีผู้แทนเพียงแค่
                          1 คนเท่านั้น ทำาให้เพิ่มโอกาสในการที่ประชาชนจะนำาเสนอปัญหา ข้อร้องเรียนต่างๆ ที่ตนมี

                          และหากในเขตเลือกตั้งนั้นมีผู้แทนมาจากต่างพรรคการเมืองก็จะเป็นโอกาสในการแข่งขัน
                          การทำางานเพื่อรักษาคะแนนนิยมทางการเมืองเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป

                      2.  ความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบทางการเมือง ความเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนยุ่งยากแก่

                          ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งและความสะดวก รวดเร็วในการจัดการเลือกตั้งของคณะผู้จัดการเลือกตั้ง
                          ไม่แตกต่างจากระบบผู้ได้ที่ 1 ชนะเลือกตั้ง
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45