Page 44 - kpiebook63006
P. 44
44 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
ข้อดีของระบบนี้
1. การเป็นตัวแทนของประชาชนในเขตเลือกตั้งอย่างแท้จริง เพราะผู้ชนะเลือกตั้งคือ ผู้ที่ได้
คะแนนเสียงเกินครึ่งเช่นเดียวกับระบบเลือกตั้ง 2 รอบ
2. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการเลือกตั้ง
2 รอบ แต่ได้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกันคือ ได้ผู้ชนะเลือกตั้งที่มาจากเสียงข้างมาก
ข้อเสียของระบบนี้
1. สร้างความยากลำาบากแก่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะต้องเขียนตัวเลขลำาดับความชอบลงใน
บัตรเลือกตั้ง บางประเทศที่ประชาชนบางส่วนยังมีปัญหาเรื่องการรู้หนังสืออาจก่อให้เกิด
ปัญหาบัตรเสียจำานวนมาก
2. สร้างความยากลำาบากแก่คณะผู้จัดการเลือกตั้งในการนับคะแนน หรือการรวบรวมคะแนน
เพื่อหาผู้ชนะเลือกตั้ง ระบบจัดการเลือกตั้งต้องมีประสิทธิภาพสูง เพื่อป้องกันความผิดพลาด
หรือการทุจริตในการนับคะแนนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2.3 ระบบสัดส่วน
การวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อระบบพหุนิยม และระบบเสียงข้างมากในประเด็นเรื่องความเป็นสัดส่วน
ของตัวแทนกับคะแนนเสียงที่ประชาชนลงให้กับผู้สมัครในแต่ละพรรคที่ไม่สัมพันธ์กัน ทำาให้เกิดการคิดค้น
ระบบสัดส่วน (proportional representation system: PR) ขึ้น ดังนั้นระบบนี้จึงมีลักษณะที่สำาคัญคือ
การแปรคะแนนเสียงที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ให้สัมพันธ์กับสัดส่วนที่นั่งของตัวแทนที่พึงมี
ในเขตเลือกตั้งนั้น เพื่อให้คะแนนเสียงทุกคะแนนมีความหมาย ไม่สูญเปล่าหรือที่เรียกกันว่าไม่ “ตกนำ้า”
ระบบสัดส่วนแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อยคือ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ (list PR) และระบบถ่ายโอน
คะแนนเสียงได้ (single transferable vote: STV) รายละเอียดมีดังนี้
2.3.1 ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรำยชื่อ
ระบบนี้กำาหนดให้เขตเลือกตั้งมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คนหรือเขตละหลายคน (multi
member district) เพื่อให้ผลการเลือกตั้งได้ตัวแทนที่สะท้อนความเป็นสัดส่วนของคะแนนเสียงกับผู้ชนะ
เลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครเรียงตามลำาดับในบัญชีรายชื่อไม่เกินจำานวนของผู้แทนที่พึงมี