Page 49 - kpiebook63006
P. 49
49
3. ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีจำานวน ส.ส. แบบแบ่งเขตรวมกันแล้วเท่ากับหรือมากกว่าจำานวน
ส.ส.ที่พึงมีได้ ให้พรรคการเมืองนั้นมี ส.ส.เฉพาะที่ได้รับเลือกตั้งจากระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
เท่านั้น ไม่มีส.ส.ที่มาจากระบบบัญชีรายชื่อเลย
ประเทศที่ใช้ระบบเลือกตั้งนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ เยอรมนี จนทำาให้ถูกเรียก
ในอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบเลือกตั้งแบบเยอรมนี
ข้อดีของระบบนี้
1. การแก้ไขปัญหาช่องโหว่ที่มาจากระบบพหุนิยม หรือระบบเสียงข้างมากธรรมดาที่ไม่สะท้อน
ความเป็นตัวแทนที่แท้จริงเนื่องจากจำานวนคะแนนเสียงไม่ได้สัดส่วนกับตัวแทน
2. เปิดโอกาสให้กับพรรคการเมืองขนาดเล็ก พรรคการเมืองของคนเฉพาะกลุ่มได้มีตัวแทน
ของตนในสภา เช่น พรรคของชาติพันธ์หรือชนกลุ่มน้อย
ข้อเสียของระบบนี้
1. ความยุ่งยาก ซับซ้อนในการทำาความเข้าใจให้กับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง และฝ่ายจัดการเลือกตั้ง
ในการคิดคะแนนหาผู้ชนะเลือกตั้ง
2. อาจเกิดการแบ่งแยกในหมู่สมาชิกสภาระหว่างสมาชิก ที่มาจากระบบเขตเลือกตั้งกับสมาชิก
ที่มาจากระบบบัญชีรายชื่อ
3. เนื่องจากเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้กับพรรคการเมืองขนาดเล็ก อาจนำาไปสู่ระบบพรรคการเมือง
แบบหลายพรรค ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างเด็ดขาดหรือเกินครึ่ง ทำาให้เกิดรัฐบาลผสม
ซึ่งอาจส่งผลต่อปัญหาเสถียรภาพ
2.4.2 ระบบคู่ขนำนระหว่ำงกำรแบ่งเขตและสัดส่วนหรือระบบผสมที่เน้นเสียงข้ำงมำก
เด็ดขำด
ระบบนี้ไม่ต่างจากระบบผสมการแบ่งเขต กับสัดส่วนในด้านการใช้สิทธิเลือกตั้งที่ต้อง
เลือกทั้งผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้ง และระบบบัญชีรายชื่อพรรค บางประเทศใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว
แล้วแยกส่วนให้เลือกระหว่างผู้สมัครในระบบเขต กับผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อพรรค เช่น เกาหลีใต้
บางประเทศใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบแยกจากกัน เช่น ญี่ปุ่น และไทยในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แต่ความแตกต่างอยู่ที่การคิดคะแนนเพื่อหาผู้ชนะเลือกตั้ง โดยระบบนี้
จะแยกการคิดคะแนนระหว่างผู้สมัครทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน หรือแยกเป็นอิสระจากกัน ไม่มีการนำา